RSS

Monthly Archives: มกราคม 2008

Root of Gothic

Root of Gothic

 

คำว่า " Gothic" หมายถึงพวกโกธซึ่งเป็นชนเผ่าเยอรมนิกเผ่าหนึ่งที่เรียกตนเองว่า Visigoths ซึ่งหมกหมุ่นอยู่กับการเข่นฆ่าและกระทำชำเรา จนกลายเป็นที่รังเกียจจากกลุ่มอื่นๆที่ยกตัวเองเป็นผู้ที่เจริญแล้วทั้งหลาย ลำคำว่าvisigoths นี้กลายเป็นคำเหยียดหยามที่หมายถึงพวกป่าเถื่อน ไร้อนารยธรรม และการศึกษา

ชนเผ่านี้อาศัยอยู่ในสมัยกลางหรือมัธยมสมัย ( Middle Ages) คือระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๕ อันเป็นช่วงเวลาที่มีคติความเชื่อเรื่องอัศวิน (chivalry) และลัทธิศักดินา (feudalism) ซึ่งกษัตริย์และอัศวินนักรบจะต้องพึ่งพาและมีศรัทธาในกันและกัน ชนเผ่าโกธสามารถสร้างอารยธรรมของตนขึ้นมาได้โดยไม่นำพาอารยธรรมของกรีกโรมันซึ่งมีอิทธิพลสูงมายาวนาน สิ่งยืนยันความเจริญทางศิลปวิทยาการของชนเผ่านี้ คือสถาปัตยกรรมแบบกอธิค ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือมีซุ้มประตูโค้ง (arch) และหลังคาโค้งยอดแหลม (vault) เช่น มหาวิหาร Notre-Dame เป็นต้น

ช่วงยุค Victorian เป็นช่วงยุคที่Gothic เข้ามาสู่แวดวงวรรณกรรม โดยเป็นนวนิยาย นวนิยายประเภทนี้จึงนิยมกล่าวถึงเรื่องราวของอัศวินและใช้ฉากของสถาปัตยกรรมแบบ กอธิค คือปราสาทใหญ่โต มืดทึม ลึกลับ มีห้องใต้ดิน ประตูลับ และภูติผีปีศาจ เรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสยองขวัญ มีเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ (supernatural) และรวมทั้งเรื่องสติวิปลาส จุดประสงค์ของนวนิยายแบบนี้ คือสร้างความน่าสะพึงกลัว ด้วยการเอาเรื่องสยดสยอง โหดเหี้ยม และลี้ลับมานำเสนอ แม้ในระยะหลังนวนิยายประเภทนี้จะไม่ได้ใช้ฉากและบรรยากาศของสมัยกลางแล้ว แต่ยังคงรักษาความสยองขวัญและลี้ลับเอาไว้ ตัวอย่างของนวนิยายแบบกอธิคเรื่อง เด่น ๆ ของตะวันตก ได้แก่ Castle of Otranto : A Gothic Story ของ Horace Walpole ( ค.ศ. 1764) Vathek ของ William Backford ( ค.ศ.1786) The Mysteries of Udolpho ของ Ann Radcliffe ( ค.ศ.1794) และเรื่อง Frankenstien ของ Mary Shelley ( ค.ศ.1817) รวมทั้งเรื่อง Dracula ของ Bram Stoker นวนิยายยุคศตวรรษที่20 ที่จัดว่าเป็นนวนิยายแบบโกธิค ก็ได้แก่ผลงานของ Edgar Allen Poe , William Flaukner, Truman Capote เป็นต้น

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มกราคม 5, 2008 นิ้ว History

 

ชนเผ่า มายัน

 

ชนเผ่ามายัน ก็เป็นเหมือนชนเผ่าอื่นๆ ในอดีตนานมาแล้ว ที่มีความเชื่อเรื่องเทพเจ้าว่าทรงเป็นผู้บันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง ว่ากันว่า ประชาชนมายันมีความเชื่อในเทพเจ้าจำนวนมาก เท่าที่พบในขณะนี้ก็ไม่น้อยกว่า 166 องค์ทีเดียว

ปวงเทพที่มีอยู่มากมายนี้ ประทับอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นฟ้า ที่มีถึง 13 ชั้น และเพื่อที่จะสื่อสารกับเหล่าเทพให้ได้จึงต้องมีการบูชายัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูชายัญด้วยเลือด เป็นการส่งพลังงานจากมนุษย์เดินดินตาดำๆ ถึงองค์เทพ และในขณะเดียวกัน ก็เป็นการรับอำนาจศักดิ์สิทธิ์จากฟากฟ้าคืนมาให้กษัตริย์ หรือผู้นำชนเผ่าด้วยจึงต้องมีการเดินทางไปทำพิธีในหลายเมือง เพื่อคงไว้ซึ่งความยิ่งใหญ่ และอำนาจเหนือราชอาณาจักรของกษัตริย์

นอกจากนั้น ยังมีความเชื่อกันว่า ชีวิตมนุษย์ล้วนเกิดมาจากองค์เทพ เทพเจ้าเป็นผู้ประทานบางส่วนของพระองค์มาให้กำเนิดมนุษย์ เลือดของผู้คนก็ล้วนมาจากอณูแห่งโลหิตเทพ การบูชายัญด้วยเลือดและชีวิต จึงเป็นการส่งคืนกลับ เหมือนเป็นสัญลักษณ์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด

การบูชายัญที่ฮิตที่สุดในหมู่ชาวมายัน น่าจะเป็นพิธีกรรมที่หากคุณผู้ชายยุคปัจจุบันเห็นเข้าก็คงต้องเบือนหน้าหนี เพราะเหยื่อที่เป็นหนุ่มแน่นจะถูกตรึงไว้ แล้วกษัตริย์ก็จะใช้มีดคมกริบที่ทำจากหินหรือหางปลากระเบนตัด…ฉับ…ฉับ… เข้าให้ที่จุดยุทธศาสตร์ ซึ่งทุกคนหวงแหน เรียกว่านอกจากจะต้องเป็นเหยื่อบูชายัญแล้ว ยังต้องสูญเสียความเป็นชายอีกต่างหาก

แล้วก็อย่าร้องโอดโอยไป เพราะในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น ราชินีคู่ใจก็จะช่วยดึงเชือกที่ติดหนามแหลมเอาไว้ผ่านลิ้นของเหยื่อ เลือดที่พุ่งกระฉูดทั้งจากปาก และจาก…เอ้อ…ตรงนั้นน่ะ…ก็จะหยดลงไปบนชามที่มีกระดาษรองรับไว้ ว่าแล้วนักบวชก็จะนำกระดาษเปื้อนเลือดไปเผาส่งควันให้สื่อสารไปถึงโลกเบื้องบนของเทพเจ้า

เหยื่อที่ใช้ในการบูชายัญนี้ อาจจะเป็นนักโทษ ทาส เด็ก ไม่ว่าจะซื้อมาหรือเด็กกำพร้า อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานระบุว่า ก่อนที่จะใช้คนมาเป็นเครื่องบูชายัญ ชาวมายันเคยใช้สัตว์มาก่อน เช่น นก สุนัข ไก่ กระรอก ฯลฯ แต่ในระยะหลังก็หันมาใช้มนุษย์แทน นัยว่าเพื่อให้มีพลังมากขึ้น และแม้ผู้ถูกบูชายัญส่วนใหญ่จะเป็นชาย แต่ผู้หญิงก็อย่าชะล่าใจไป เพราะในการขุดสำรวจแหล่งโบราณคดีของมายา ก็มีการค้นพบหลักฐานที่ว่า ผู้หญิงเองก็เป็นผู้ถูกบูชายัญ ถูกลงมีดในจุดซ่อนเร้นด้วยเหมือนกัน

นอกจากนี้ ยังมีการทำพิธีกรรมใหญ่ในหลายโอกาส เช่น การขึ้นครองบัลลังก์ของกษัตริย์ องค์ใหม่ การสร้างวิหารใหม่ การฉลองชัยชนะ หรือการบูชาพิรุณเทพ ที่จะบูชายัญด้วยหัวใจ!

ในพิธีกรรมใหญ่นี้ เหยื่อจะถูกเปลื้องเสื้อผ้าออกทั้งหมด แล้วทาตัวด้วยสีน้ำเงิน ก่อนจะนำไปยังแท่นบูชา ซึ่งบางครั้งก็ทำพิธีกับบนยอดพีระมิด ว่าแล้วเหล่านักบวชจะช่วยกันจับแขนขาของผู้ถูกบูชายัญไว้ ในขณะที่นักบวชผู้มีสถานะสูงสุดจะเป็นผู้ลงมีด กรีดอกข้างซ้ายของเหยื่อ แล้วควักเอาหัวใจที่ยังมีแรงเต้นเป็นเฮือกสุดท้ายออกมาชูให้เห็นทั่วกัน

ส่วนร่างของผู้ถูกแหวะอกนั้น จะถูกโยนลงมาจากพีระมิด ให้นักบวชที่มียศต่ำกว่าทำหน้าที่ถลกหนังออก เอามาห่มคลุมร่างกาย แล้วออกไปเต้น และหากเหยื่อเป็นนักรบจากเผ่าอื่นที่ถูกจับมา ก็จะได้รับเกียรติ มากยิ่งขึ้น ด้วยการถูกชำแหละ แบ่งเนื้อกันกินด้วยอีกต่างหาก

เมื่อมีพิธีใหญ่แล้ว ก็มีพิธีที่อาจจะไม่อลังการ แต่สังเวยไปหลายชีวิต คือในช่วงฤดูแล้ง มักจะมีการโยนเหยื่อลงมาจากที่สูง หรือยอดพีระมิด เพื่อเป็นการบูชาเทพ นอกจากนี้ การที่ชาวมายันเชื่อกันว่า วิญญาณของผู้คนจะผ่านพ้นออกไปทางบ่อ หรือถ้ำ ดังนั้น ร่างของผู้ถูกบูชายัญส่วนหนึ่งจึงถูกนำไปไว้ในสถานที่ดังกล่าว ซึ่งในการสำรวจ ชิเชน อิตซา (เมืองโบราณของมายาที่เม็กซิโก ซึ่งเพิ่งจะได้รับการลงคะแนนเสียงจากทั่วโลกให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่) ก็ได้พบบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีโครงกระดูกมากมายทั้งชายหญิง รวมทั้งเด็กที่คาดว่าน่าจะเป็นผู้ที่ถูกบูชายัญให้องค์เทพด้วย

แต่เห็นชาวมายันทำพิธีกันสุดโหดแบบนี้ อย่าเพิ่งเหมาไปเองว่า ชนเผ่านี้เป็นพวกบ้านป่าเมืองเถื่อน เพราะเอาเข้าจริงแล้ว ตรงกันข้ามเลยทีเดียว อาณาจักรมายาเป็นดินแดนที่เคยรุ่งเรืองด้วยอารยธรรมขั้นสูงมาตั้งแต่ 300 ปีก่อนคริสตกาล แบบที่คนปัจจุบันเห็นแล้วต้องร้องโอ้โห ไม่ว่าจะเป็นการสร้างพีระมิดขนาดใหญ่ ได้อย่างน่าทึ่งในยุคที่ยังไม่มีเครื่องทุ่นแรงใดๆ การถ่ายทอดความรู้ทางดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ ขั้นสูง นำมาซึ่งความประหลาดใจของคนรุ่นหลังที่ พบหลักฐานยืนยันว่า ชาวเผ่ามายันมีปฏิทินที่รู้ว่า แต่ละปีมี 365 วันมาตั้งแต่หลายพันปีก่อน!

ไม่เพียงเท่านั้น ชนเผ่ามายันยังรู้อีกว่าระบบสุริยะของเราเป็นอย่างไร เห็นไกลไปถึงดาวเคราะห์ดวงท้ายๆ อย่างยูเรนัสและเนปจูนได้ทั้งๆที่ไม่มีกล้องดูดาว กว่าฝรั่งผิวขาวจะค้นพบยูเรนัสกับเนปจูนอีกทีก็ปาเข้าไป พ.ศ. 2324 และ พ.ศ.2389 ตามลำดับ หลังการบอกเล่าของชาวมายันตั้ง 2 พันปี!!

ความรู้อันน่าทึ่งเหล่านี้ เป็นหนึ่งในปริศนาแห่งมายา เช่นเดียวกับความลึกลับอื่นๆอีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือที่มาที่ไป เพราะแม้จะมีการค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับการมีอยู่ และเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก แต่กลับไม่มีใครเฉลยคำตอบออกมาได้ชัดๆว่า ชาวมายันเป็นใครมาจากไหน ทำไมจู่ๆก็ปรากฏตัวขึ้นในบริเวณในคาบสมุทรยูคาตัน หรือบริเวณที่เป็นประเทศเม็กซิโก และกัวเตมาลาในปัจจุบันนี้ ทำไมถึงได้มีความรู้ลึกซึ้งในหลาก หลายเรื่องราว และสิ่งที่เป็นเครื่องหมายคำถามใหญ่ที่สุดคือ เหตุไฉนอาณาจักรอันเฟื่องฟูไปด้วยอารยธรรมนี้ถึงได้ล่มสลาย เหลือไว้แต่ซากเมืองเปล่าๆ

ส่วนเราๆ ท่านๆ หากอยากรู้เรื่องราวของชาวเผ่ามายัน ต้องลองดูในวีซีดีและดีวีดี Apoca- lypto ภาพยนตร์สุดหวงของเมล กิ๊บสัน ที่ได้ ชื่อว่าถ่ายทอดเรื่องราวจากอดีตได้สมจริงและถูกต้องตามประวัติศาสตร์มากที่สุดนั่นเอง.

 
3 ความเห็น

Posted by บน มกราคม 3, 2008 นิ้ว History

 

อารายธรรมโรมัน


อารยธรรมโรมัน
1. โรมันเป็นพวก อินโดยูโรเปียน ย้ายเข้ามาอยู่ใน แหลมอิตาลี กลุ่มที่อพยพเข้ามา เรียกรวมๆว่า อิตาลิก ( Italic) แต่กลุ่มคนที่สำคัญส่วนใหญ่คือ พวกลาติน ซึ่งเอาชนะชาวพื้นเมืองอีทรัสกัส และสร้างอาณาจักรโรมขึ้นมา รวมทั้งกรุงโรมด้วย
2. ชาวโรมันมีนิสัยเด่น คือ ชอบทำการรบ และการปกครอง เป็นพวกมีวินัย เป็นนักคิด นักปฏิบัติ
3. การปกครองของโรมันแบ่งออกเป็น 2 ยุค ได้แก่
3.1 โรมันในสมัยสาธารณรัฐ
• มีผู้นำคนสำคัญ คือ จูเลียส ซีซ่า ( Julius Caesar) มีความสามารถด้านการรบมากสามารถแผ่ขยายอณาเขต รบชนะ กรีก อียิปต์ เอเชียไมเนอร์ แอฟริกา และ เสปน ได้หมด
3.2 โรมันในสมัย จักรวรรดิ
• เริ่มต้นขึ้นเมื่อตอนที่ออคตาเวียน ขึ้นปกครองโรม จึงเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบกษัตริย์ และสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ ชื่อว่า ออกุสตุส ซีซ่าร์
• สมัยออตเตเวียนและจักรพรรดิ์ต่อมาอีก 4 พระองค์ โรมันเจริญสูงสุดและได้ชื่อว่าเป็นสมัยแห่ง “ สันติภาพโรมัน ”
• หลังจากนั้นโรมันก็ถูกชนเยอรมันเผ่า ก๊อด ( Goth) มารุกราน จักรพรรดิ์คอนสแตนติน จึงต้องแยก โรมันออกเป็น 2 ส่วน
( Goth เป็นชื่อเรียกชนเผ่าหนึ่งที่เอยู่ตอนเหนือของยุโรป แบ่งเป็น 2 เผ่า คือ
1. VisiGoth ตะวันตก (อยู่ในแถบฟินแลนด์และ สวีเดน)
2. Ostrogoths ตะวันออก (เยอร์มัน/โปแลนด์) )
• ฝั่งตะวันตก มีศูนย์กลางอยู่ที่ กรุงโรม
• ฝั่งตะวันออก มีศูนย์กลางอยู่ที่ กรุงคอนสแตนติโนเปิล ( เดิมชื่อ ไบแซนไทน์ ปัจจุบันคือ อิสตันบลู ของตุรกี )
ค.ศ. 476 กรุงโรมได้ สลายลง เพราะการโจมตีของชนเยอรมัน ติวโตนิก
4. อารยธรรมเด่นๆ
4.1 ศิลปะโรมันได้รับอิทธิพลศิลปกรรมจากกรีก แต่ก็ได้พัฒนาให้มีรูปแบบเป็นของตัวเอง แสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ โอ่อ่าหรูหรา ซึ่งต่างจากกรีกที่มีรูปแบบเคร่งครัดตายตัว ประณีต และแสดงออกซึ่งจิตวิญญาณมากกว่าโรมัน ทั้งนี้เพราะปรัชญาแห่งการดำเนินชีวิตต่างกัน ในขณะที่กรีกมีพื้นฐานปรัชญาเน้นพุทธิปัญญา ( Intellectual) เป็นเป้าหมายสูงสุด แต่โรมันมีเป้าหมายอยู่ที่ความสุข เพราะมีหลักปรัชญาแบบประโยชน์นิยมและสุขนิยมเป็นพื้นฐาน โรมันจึงสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อรับใช้จักรพรรดิ์และประชาชน โรมันเป็นนักดัดแปลงที่เก่งกาจ มรดกของโรมันได้เหลือตกทอดให้แก่คนในยุคปัจจุบันได้ใช้ประโยชน์มีเป็นจำนวนไม่น้อย อาณาจักรโรมันจึงเป็นแหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกที่น่าศึกษาและอนุรักษ์เป็นมรดกโลก
4.2 โรมันเป็นพวกที่ไม่นิยมการปั้นรูปปั้นเน้นสัดส่วนแบบกรีก แม้ว่าจะได้รับอิทธิพลทางศิลปะจาก กรีกแต่โรมันก็นำ มาปรับใช้ให้เหมาะสมและเน้นเรื่องการใช้ประโยชน์มากที่สุด ชาวโรมันจึงมีความสุขกับวัตถุนิยม และมีความภูมิใจในความยิ่งใหญ่ของตน
4.3 มีการประมวลกฎหมาย12โต๊ะ คือกฏหมาย เน้นเรื่องความเสมอภาคของประชาชนทุกคนในโรมัน และเป็นรากฐานของกฎในปัจจุบันนี้
4.4 มีการสร้างสถานที่เด่นๆหลายอย่าง เช่น
สนามกีฬาโคลอสเซียม
สนามกีฬาเป็นสถานที่พักผ่อนของคนโรมันที่นิยมกันมาก ที่มีชื่อเสียงมาก คือ Colosseum มีลักษณะเป็นวงรีรูปไข่ ยาว 620 ฟุต กว้าง 513 ฟุต สูง 160 ฟุต มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 6 เอเคอร์ สร้างเป็นอัฒจรรย์ล้อมรอบสนาม จุคนดูได้ประมาณ 50,000 คน พื้นสนามเป็นพื้นทราย บริเวณอัฒจรรย์มีที่นั่งเป็นแถวยกพื้นสูงเป็นชั้น ๆ ที่นั่งแบ่งเป็นสัดส่วนตามชนชั้นต่าง ๆ เช่น ที่นั่งของจักรพรรดิ์ สมาชิกรัฐสภา นักบวช ข้าราชการ และประชาชน สนามกีฬาแห่งนี้ สร้างขึ้นโดยกษัตริย์เวชเปเซียน ยุคโรมเรืองอำนาจ ราว ค.ศ. 72 เพื่อใช้เป็นที่ให้นักโทษกับสิงโตสู้กัน หากนักโทษคนใดชนะฆ่าสิงโตที่ดุร้ายด้วยเมือเปล่าก็รอดชีวิต บางครั้งใช้ในการประลองอาวุธ ประลองความเก่งกล้าสามารถของนักรบ หรือขุนศึกแห่งโรมทั้งหลาย
สนามกีฬากรุงโรม เป็นหลักฐานแสดงถึงความรุ่งเรืองเกริกเกียรติของมหาอาณาจักรโรมัน ต่อมาเมื่อมหาอาณาจักรเสื่อมลง ถูกข้าศึกรุกราน สนามกีฬาแห่งนี้ถูกทำลายหลายครั้ง
ปัจจุบัน สนามกีฬากรุงโรมอันโอฬาแห่งนี้เหลือเพียงโครงสร้างที่ให้โตไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชม ใต้สนาม
นอกจากสนามกีฬาแล้ว ยังมีสถานที่แสดงละครและแสดงมหรสพต่าง ๆ สร้างเป็นรูปครึ่งวงกลม ที่นั่งเรียงเป็นแถวลดหลั่นเป็นชั้น ๆ คล้ายอัฒจรรย์มีห้องแต่งตัวและห้องพักของนักแสดง ตลอดจนมีการจัดระบบเสียงไว้อย่างดี คนดูสามารถเห็นและได้ยินเสียงอย่างชัดเจนทุกแถว
ประตูชัย
เป็นอนุสาวรีย์ประเภทหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อฉลองชัยชนะจากสงคราม นิยมสร้างคร่อมถนนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ตรงกลางเจาะเป็นช่องทางลอดและเป็นประตูโค้ง บริเวณส่วนหน้าและหลังของตัวประตูนิยมสลักรูปและอักษร เพื่อบันทึกเหตุการณ์ของสงคราม ตลอดจนเพื่อยกย่องจักรพรรดิ์ที่ชนะการรบอันเป็นการแสดงเดชานุภาพของพระองค์ เพราะฉะนั้น ประตูชัยจึงเป็นสิ่งก่อสร้างที่จำกัดเฉพาะองค์จักรพรรดิ์ เท่านั้น ประตูชัยที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ประตูชัยของจักรพรรดิ์ทราจัน ( Trajan) ประตูชัยของจักรพรรดิ์ตีตุส ( Titus) และประตูชัยของจักรพรรดิ์คอนสแตนติน (Constantin) เป็นต้น
สะพานและท่อลำเลียงน้ำ
สถาปัตยกรรมแบบนี้สร้างขึ้นมาเพื่อบริการน้ำสะอาดให้แก่ชาวโรมัน จัดเป็นสาธารณูปโภคอย่างหนึ่งที่รัฐต้องบริการให้แก่ประชาชน ท่อลำ เลียงน้ำนี้จะนำน้ำจากแม่น้ำหรือลำธารไหลเข้าสู่ตัวเมือง 12 แห่ง และมีท่อเล็กลำเลียงแยกจากท่อใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ท่อเล็ก ๆ เหล่านี้ทำด้วยวัสดุพวกตะกั่ว กระเบื้องดินเผา และไม้ ลำเลียงน้ำจากท่อใหญ่เข้าสู่บ้าน และเธอเม ท่อลำเลียงน้ำที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ ปองต์ ดู การ์ด ( Pont du Gard) ที่เมือง นิมส์ ( Nimes ) ในฝรั่งเศส และท่อลำเลียงน้ำที่ เซโกเวีย ( Segovia ) ในสเปน ท่อน้ำส่วนมากจะมีสะพานรองรับยกระดับให้สูง มิฉะนั้น น้ำจะไหลออกหมด บางแห่งต้องข้ามช่องเขาหลายแห่ง สะพานเหล่านี้มีลักษณะแบบอาร์ค ( Arch) ใช้ซีเมนต์เชื่อม บางสะพานมี 3 ชั้น ถึง 5 ชั้น
4.5 ถ้าสังเกตดีๆจะรู้ว่า อาคารส่วนใหญ่ของชาวโรมันจะเป็นรูปโค้ง หรือ หลังคาเป็นรูปโดมท เพราเชื่อว่า วงกลม เป็นรูปแบบที่ ไม่มีที่สิ้นสุดเปรียบเหมือนพระเจ้าที่ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีที่สิ้นสุด
4.6 วรรณกรรมที่เด่นๆ เช่น มหากาพย์ อีเนียด
[[http://noir.exteen.com/20061224/entry-1#|มรดกจากอารยธรรมโรมัน (จบเรื่องอารยธรรมโรมัน) ]]
อารยธรรมโรมัน
มรดกอารยธรรมโรมันที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เลียนแบบมาจากกรีก ได้พัฒนาผสมผสานเป็นของโรมันที่มุ่งด้านประโยชน์ ใช้สอย ซึ่งความยิ่งใหญ่ของการพัฒนากองทัพเหนือกว่าจักรวรรดิโบราณใดๆ กรีกเป็นนักคิด แต่ช่วงเวลาในการขยายผลทางความคิดถูกกำจัดเพราถูกอำนาจจักรวรรดินิยมโรมันเข้าครอบครอง โลกเฮเลนิสติกของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยังไม่ประสบความสำเร็จด้วยตนเอง แต่หากมีจักรวรรดิโรมันเป็นผู้เผยแพร่ อย่างไรก็ตาม โรมันมีมรดกที่สำคัญไว้ปรากฏแก่โลก คือ

1 ด้านกฎหมายและการปกครอง ถือเป็นมรดกที่สำคัญที่สุดของโรมัน
กฎหมาย ฉบับแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 450 ก่อน ค.ศ. คือ กฎหมาย 12 โต๊ะ ได้พัฒนามาเป็นเวลาเกือบ 1000 ปี มาเป็น ประมวลกฎหมายจัสติเนียน ที่ยึดแนวปรัชญาสโตอิคเป็นหลักในคริสตศตวรรษที่ 6 คือ การกำหนดแนวทางในการปฏิบัติของจักรพรรดิ วิธีพิพากษาคดี กฎหมายบุคคล กฎหมายสาธารณชน กฎหมายการค้า ถือว่ากฎหมายของโรมันมีความเที่ยงตรง ยุติธรรม มีมนุษยธรรม ภายใต้หลักสิทธิมนุษยชนที่เท่าเทียมกัน คือหลักของผู้ต้องหาที่ยังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าผิดจริง การทรมานให้รับสารภาพเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หลักปรัชญาของสโตอิค มีอิทธิพลต่อการกำหนดกฎหมายของประเทศต่างๆในระยะต่อมา
โรมันเป็นผู้วางโครงร่างในการเมือง การปกครองหลายด้าน เช่น การเงิน สภาซีเนต หรือสภาสูง การตั้งกงสุล การมีประชามติ การกำหนดบทบาทพลเมือง การสำรวจสำมะโนครัว ศัพท์ทางกฎหมายและการเมืองยังคงใช้เป็นรากฐานมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งใช้ภาษาละตินเป็นต้นแบบ
การปกครองมีการสร้างถนนแอพเพนเวย์เชื่อมจักรวรรดิทั้งมวล ประกาศใช้ภาษาและกฎหมายโรม ยกฐานะพลเมืองและเสรีชนในดินแดนต่างๆให้เป็นโรมัน มีการแบ่งจักรวรรดิออกเป็นส่วนเพื่อสะดวกในการควบคุมดูแลและปกครองเป็น 4 ส่วน เรียกว่า พรีเฟคเตอร์ (Prefector) แบ่งส่วนย่อยออกเป็นไดออซิส (Diosis)และพรอพวินส์ (Province) ตามลำดับ

2.ศาสนา โรมันโบราณนับถือภูติผีปีศาจ หินเหล็กไฟ หมาใน หมาป่า ศาสนาโรมัน ขึ้นอยู่กับความกลัว ใช้วิธีการฆ่าสัตว์ บูชาเซ่นไหว้ การฆ่าและการบูชายัญด้วยชีวิตสัตว์และมนุษย์ด้วยกันเอง
ถือเป็นกิจวัตร กฎหมายเปิดโอกาสและสนับสนุนความเชื่อและพิธีกรรมทุกอย่าง ใครนับถืออะไรก็ได้
ถือว่าโรมันมีความเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์ รวมทั้งจักรพรรดิที่ถูกยกย่องให้เป็นเทพเจ้าที่ชาวโรมันต้องให้ความเคารพยำเกรงเหนือสิ่งอื่นใด และต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด
คริสตศาสนาเดิมเป็นศาสนาที่สวนกับแนวความคิดและสวนกระแสโรมัน ที่ยกย่องเชิดชูจักรพรรดิดุจเทพเจ้า ได้รับรับการต่อต้านจากชาวโรมันเป็นอย่างมากจนต่อมามีการตรึงไม้กางเขนพระเยซู และประหารชีวิตสาวกด้วยวิธีการต่างๆนานาที่โหดร้ายทารุณ เพื่อสกัดมิให้ความเชื่อถือที่มีต่อจักรพวรรดิเสื่อมถอยลง
นับแต่พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขนเมื่อปี ค.ศ. 29 สานุศิษย์ได้รวมตัวกันอย่างลับๆ
และค่อยๆเปิดเผยออกมาโดยประกาศการฟื้นคืนชีพของพระเยซู และได้เสด็จดำเนินมาหาพวกเขาเพื่อให้ประกาศศาสนาคอยไป ทำให้ประชาชนเกิดความศรัทธาในการเผยแพร่คำสอน การเผยแผ่ของสาวกได้ดำเนินไปพร้อมกับการต่อต้านของกลุ่มยิวผู้นับถือศาสนายูดาห์ ซึ่งเป็นยิวด้วยกัน และจักรวรรดิโรมันที่มีจักรพรรดิเป็นเทพเจ้า
สาวกจำนวน 4 คน เรียกตนเองว่าผู้เผยแผ่ ได้เขียนหลักคำสอนขึ้นมามีชื่อว่าคัมภีร์ใหม่
แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ตอน เกือบทั้งหมดจะเป็นชีวประวัติของพระเยซูและจดหมายเหตุเน้นคำสอนของพระเยซูเป็นสำคัญ เช่น คำพยากรณ์ ถึงวันสิ้นโลกของนักบุญเซนต์จอห์นที่สามารถสร้างความเชื่อถือในหมู่สามัญชนได้ และต่อมาได้เผยแผ่เข้าสู่ชนชั้นปกครองในเวลาต่อมา

3.ด้านการแพทย์ ชาวโรมันมีความสามารถทางด้านการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศัลยกรรมหรือการผ่าตัด สาธารณสุข มีการประดิษฐ์คีมและปากคีบเพื่อช่วยในการศัลยกรรมผ่าตัด สามารถผ่าตัดท่อนทอนซิล คอพอก นิ่ว และผ่าตัดทำคลอดหน้าท้อง เชื่อกันว่าจูเลียต ซีซ่าร์ เป็นทารกคนแรกที่คลอดวิธีนี้จึงเรียกการผ่าตัดแบบนี้ว่า “การผ่าแบบซีซ่าร์”
มีการสร้างโรงพยาบาลเพื่อบำบัดโรคจากการสงครามและจิตใจ มีความก้าวหน้าทางวิทยศาสตร์ การแพทย์ แบบใหม่ๆ ที่เน้นความผาสุกและความสบายแก่มนุษย์เป็นหลัก

4.วรรณกรรม ภาษาโรมัน คือต้นแบบของภาษาละติน เป็นมรดกชิ้นสำคัญของโลกที่รับมาจากจักรวรรดิโรมันเพราะเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วจักรวรรดิ แม้จักรวรรดิจล่มสลายไปแล้ว แต่ยังเป็นภาษาสำคัญต่อวิวัฒนาการอารยธรรม
โรมันได้นำเอาวรรณกรรมมาจากกรีก และได้ผลิตผลงานด้านการคิดสร้างสรรค์ไว้น้อยแต่มุ่งในด้านการนำสิ่งที่กรีกคิดไว้ไปปฏิบัติ ทำให้ชาวโรมันประสบความสำเร็จในการสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ใช้สอยเป็นส่วนใหญ่ โดยการนำเอาอารยธรรมเฮลนิสติคออกไปเผยแพร่ ทั่วจักรวรรดิ

5.สถาปตยกรรม สิ่งที่โรมันได้สร้างไว้มีมากมาย ได้แก่การสร้างถนนในกรุงโรมและถนนเชื่อจักรวรรดิ คือ แอพเพนเวย์ที่สามารถติดต่ออย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วได้ ทุกฤดูกาล มีการสร้างท่อส่งน้ำ วิศวกรรมโยธาประสบความสำเร็จในการทำคอนกรีตที่มีความคงทน แข็งแรง จากส่วนผสมจากทราย ปูน ซิลิกา หิน ที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ
สิ่งก่อสร้างได้แก่โรงละคร สะพาน ที่อาบน้ำสาธารณะ อัฒจันทร์ชมกีฬา โดยนิยมสร้างโดยการนำเอารูปโค้งมาใช้ เพื่อความแข็งแรง และคลอบคลุมเนื้อที่กว้างขึ้น ส่วนหัวเสานิยมประดับตกแต่งตามแบบคอรินท์ปรากฏที่กรีกให้เห็นจนถึงปัจจุบัน คือ โครอสเซี่ยมของจักรพรรดิติตุส ตึกรัฐสภารูปโมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 142 ฟุต สร้างถวายจักรพรรดิออกัสตุส

6.ประติมากรรม รับแบบอย่างมาจากกรีก เช่น การแกะสลักบนหัว ส่วนการแกะสลักคนทั้งตัวมักทำเฉพาะจักรพรรดิเท่านั้น

ความล่มสลายทางเศรษฐกิจ
ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกได้ล่มสลายอย่างไม่มีทางแก้ คริสตจักรได้ก่อตัวขึ้นอย่างมีระบบครอบคลุมอาณาจักรโรมันตะวันออกโดยการนำของจักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian)
และแพร่หลายครอบคลุมทั้งจักรวรรดิ ในศตวรรษที่ 4 ศาสนาที่เคยได้รับการคุกคามต่อต้าน กลายมาเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิไบแซนติอุมหรือโรมันตะวันออก ซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางศาสนาในระยะต้น ต่อมาศูนย์กลางศาสนามาอยู่ที่โรมจนถึงปัจจุบัน มีนครรัฐวาติกันเป็นศูนย์กลางของคริสต์ทั้งมวล
อาณาจักรโรมันตะวันออกได้สิ้นสุด หมดอำนาจลงเมื่อถูกโจมตีจากมุสลิมชาวเติร์กใน
ปี ค.ศ.1453

1) อนารยชน (Barbarians)
อนารยชนโรมัน หมายถึง กลุ่มชนที่มีความล้าหลัง ไม่มีความเจริญ ไม่มีอารยธรรม หรือพวกป่าเถื่อน มักรุกรานด้วยประสงค์จากทรัพย์สิน ความร่ำรวย และที่ดินทำกิน มีกลุ่มสำคัญในยุคนั้นได้แก่

1.เยอรมัน หรือ ฮันนิค (Hunnic) เป็นกลุ่มชนทางภาคเหนือ เคยครอบครองพื้นที่เหนือทะเลดำเมื่อประมาณ ค.ศ.113 แย่งออกเป็น 3 พวก คือ
1.1 พวกแฟรงค์ (Franks) ตั้งมั่นอยู่บริเวณแม่น้ำไรน์ (Rhine) จนถึงแม่น้ำเอลเบ (Elbe) ในเขตยุโรปเหนือ
1.2 พวกอัลเลมานี (Allemany) และเป็น แซกซอน (Saxon) ตั้งมั่นอยู่แถบฝั่งทะเลบอลติก จึงถึงลุ่มน้ำดานูบในเขตยุโรปตอนกลาง
1.3 พวกออสโตกอส (Osthogoths) วิสิกอธ (Visigoths) และแวนดัล (Vandals) ตั้งมั่นอยู่บริเวณยุโรปตะวันออกแถบลุ่มน้ำดานูบถึงทะเลดำ หลังจากโรมันล่มสลาย ต่างก็เข้ายึดครองดินแดนต่างๆไว้ทั่วจักรวรรดิโรมันตะวันตกคือ

– พวกออสโตกอส เข้ายึดครองคาบสมุทรอิตาลี
– วิสิกอธ เข้ายึดครองสเปน
– แวนดัล เข้ายึดครองอัฟริกาเหนือ
– แฟรงค์ เข้ายึดครองตั้งมั่นในแคว้นกอลเหนือ
– เบอรกันเดียน เข้ายึดครองตั้งมั่นในแคว้นกอลใต้
– แองโกล และ แซกซอน เข้ายึดครองตั้งมั่นในเกาะบริเตน (เกาะอังกฤษ)

2.ฮั่น (Huns) เป็นเผ่ามองโกลจากเอเชีย นำโดย อัตติละ (Attila) เข้ารุกรานในศตวรรษที่ 4 ในปี ค.ศ.372 ได้บุกจนถึงแม่น้ำวอลก้า เข้าโจมตีพวกออสโตกอธและวิสิกอธจนแตกพ่ายเข้าไปในเขตจักรวรรดิโรมัน จากนั้นจึงบุกเข้าไปในดินแดนโรมัน ถูกกองทัพโรมันตีล่าถอยกลับใน

[[http://noir.exteen.com/20060217/entry#|จักรวรรดิโรมัน (ออคตาเวียน หรือ ออกัสตุส ซีซ่าร์) ]]2.จักรวรรดิโรมัน (The Roman Empire 27 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ.180)
ออคตาเวียนปกครองโรมันอย่างสงบสุข นำจักรวรรดิเข้าสู่ยุคสันติภาพโรมัน
(Pax Romance) มีระยะเวลายาวนานถึง 200 ปี เมื่อมีสันติภาพก็จะเกิดการสร้างสรรค์สั่งสมกลายเป็นอารยธรรมสืบมา ผู้นำคนสำคัญได้แก่

1) ออคตาเวียน (ออกัสตุส ซีซ่าร์ Augutus Caesar 30 ปี ก่อน ค.ศ.- ค.ศ.14)
เขาเรียกตัวเองว่า "ผู้ฟื้นฟูสาธารณรัฐโรมัน" ซึ่งความจริงสาธารณรัฐได้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อ 100 ปี ที่ผ่านมา เพราะบ้านเมืองเกิดจราจลยึดอำนาจ ไม่สามารถปกครองแบบสาธารณรัฐได้ ในทางประวัติศาสตร์ และได้นำโรมันเข้าสู่ยุคราชวงศ์ จักรวรรดิได้ขยายอำนาจมากที่สุด สามารถครอบครองน่านน้ำทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้ทั้งหมด ถึงแถบลุ่มแม่น้ำไรน์ในตอนเหนือยุโรป
ลุ่มน้ำดานูป สก๊อตแลนด์ตอนกลาง อาร์มาเนียและเขตเมโสโปเตเมีย ได้มีการจัดระบบการปกครองและระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การเคลื่อนทัพมีความรวดเร็ว
กำหนดให้ใช้ภาษาละตินเป็นภาษาสากลในจักรวรรดิ ส่งเสริมระบบการค้าและอุตสาหกรรม เขาพยายามหลีกเลี่ยงการให้ความสำคัญตนว่า จักรพรรดิ แต่เรียกว่า
พรินเซพ Princeps หรือ บุรุษหมายเลขหนึ่ง สมัยนี้จึงเรียกว่าเป็นสมัยพรินเซพเปต (The Princepate)

ชื่อ ออกัสตุส ซีซ่าร์ จึงเป็นชื่อที่ปรากฏในประวัติศาสตร์โรมันแทน ออคตาเวียน
ต่อมาได้ประกาศยกตำแหน่งตนเป็นผู้บัญชาการทัพ (The Imperator)
ออกัสตุส ซีซ่าร์ ยังคงรักษาสภาแห่งกรุงโรมไว้เสมือนว่ายังคงมีอำนาจสูงสุดต่อไป
แต่ในทางปฏิบัติอำนาจตกอยู่ที่ ออกัสตุส ซีซ่าร์ ทั้งหมด ซึ่งรวบรวมอำนาจกงสุลและทรีบูนส์ไว้ทั้งหมด และดึงอำนาจบัญชาการทัพและการเรียกเก็บภาษีมาอยู่ในมือเสียเอง
แต่เขาก็เป็นนักอนุรักษ์นิยมที่มีความมุ่งมั่นในเสถียรภาพของโรมันว่าจะต้องมีความมั่นคง
และจะนำยุคแห่งความสงบสุขและสันติภาพมาสู่โรมันอีกครั้งให้ได้
การที่ออกัสตุส ซีซ่าร์อยู่ในฐานะที่ร่ำรวยที่สุดในโรมันประการหนึ่งและการอยู่ในอำนาจสูงสุดอีกประการหนึ่ง จึงสร้างกรุงโรมด้วยเงินของเขาเองมากมาย เปลี่ยนจากนครที่สร้างด้วยอิฐเป็นนครหินอ่อน
ด้านการจัดกองทัพ ได้มีการตั้งกองทัพถาวรอยู่ประจำที่มณฑล ไม่อนุญาตให้นายพลเรียกเกณฑ์ทหารเอง เขาพยายามขจัดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทางการเมืองและการเก็บภาษีเป็นที่พอใจแก่ชาวโรมันยิ่ง โรมันจึงมีเสถียรภาพ ทั้งจักรวรรดิมีความมั่นคงมาก
เงินตราโรมันสะพัดทั่วจักรวรรดิ มีกองทัพที่มีประสิทธิภาพสามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว มีการสร้างถนนมีความยาวถึง 50,000 กิโลเมตร เชื่อมกันทั่วจักรวรรดิ ชื่อว่า แอพเพ็นด์ เวย์ (Append Way) ซึ่งสร้างระหว่าง 4 ปีก่อนคริสตกาลแล้วเสร็จในค.ศ.117 เพื่อประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์และการค้า ถือเป็นยุคทองของโรมัน (The Romance’s Golden Age)
ทั่วจักรวรรดิเต็มใจที่จะพูดและแสดงตนว่า "เป็นชาวโรมัน" เสรีชนสิทธิ์เสมอกับชาวกรุงโรมเว้นแต่ชาวยิวเท่านั้น ด้านสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ เลียนแบบมาจากกรีก แต่มีการเพิ่มรูปโค้ง (Arc) เพื่อที่จะสามารถรับน้ำหนักได้ มากขึ้นทำให้พื้นที่การก่อสร้างใหญ่โตสวยงามมากขึ้น ใช้อิฐเป็นวัสดุ และการผสมคอนกรีตที่มีความแข็งแกร่งของโรมันยังคงเป็นความลับมาจนถึงปัจจุบัน เพราะมีความคงทนแข็งแรงและสามารถทำยได้ก็ด้วยการระเบิดเท่านั้น
ยุคนี้จักรพรรดิถูกยกขึ้นเป็นเทพสมมติ เสมือนเทพเจ้าที่มีสิทธิ์ในการเลือกรัชทายาทด้วยพระองค์เอง ซึ่งเป็นขณะเดียวกับการกำเนิดพระเยซูที่เมืองเบธเลเฮมในมณฑลจูเดีย (Judaea) ซึ่งมีแนวความเชื่อที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับอำนาจโรม
ออกัสตุส ซีซ่าร์ เข้าครองตำแหน่งมาเป็นเวลานานโดยไม่มีการเลือกรัชทายาทคนใดขึ้นมาแทน แต่ในที่สุดก็ได้เลือกบุตรเขยชื่อว่า ทิเบริอุส (Tiberius) ขึ้นมาดำรงตำแหน่งจักรพรรรดิสืบแทน

[[http://noir.exteen.com/20061224/entry#|ความล่มสลายทางเศรษฐกิจ ]]

ความล่มสลายทางเศรษฐกิจ

ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกได้ล่มสลายอย่างไม่มีทางแก้ คริสตจักรได้ก่อตัวขึ้นอย่างมีระบบครอบคลุมอาณาจักรโรมันตะวันออกโดยการนำของจักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian)
และแพร่หลายครอบคลุมทั้งจักรวรรดิ ในศตวรรษที่ 4 ศาสนาที่เคยได้รับการคุกคามต่อต้าน กลายมาเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิไบแซนติอุมหรือโรมันตะวันออก ซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางศาสนาในระยะต้น ต่อมาศูนย์กลางศาสนามาอยู่ที่โรมจนถึงปัจจุบัน มีนครรัฐวาติกันเป็นศูนย์กลางของคริสต์ทั้งมวล
อาณาจักรโรมันตะวันออกได้สิ้นสุด หมดอำนาจลงเมื่อถูกโจมตีจากมุสลิมชาวเติร์กใน
ปี ค.ศ.1453

1) อนารยชน (Barbarians)
อนารยชนโรมัน หมายถึง กลุ่มชนที่มีความล้าหลัง ไม่มีความเจริญ ไม่มีอารยธรรม หรือพวกป่าเถื่อน มักรุกรานด้วยประสงค์จากทรัพย์สิน ความร่ำรวย และที่ดินทำกิน มีกลุ่มสำคัญในยุคนั้นได้แก่

1.เยอรมัน หรือ ฮันนิค (Hunnic) เป็นกลุ่มชนทางภาคเหนือ เคยครอบครองพื้นที่เหนือทะเลดำเมื่อประมาณ ค.ศ.113 แย่งออกเป็น 3 พวก คือ
1.1 พวกแฟรงค์ (Franks) ตั้งมั่นอยู่บริเวณแม่น้ำไรน์ (Rhine) จนถึงแม่น้ำเอลเบ (Elbe) ในเขตยุโรปเหนือ
1.2 พวกอัลเลมานี (Allemany) และเป็น แซกซอน (Saxon) ตั้งมั่นอยู่แถบฝั่งทะเลบอลติก จึงถึงลุ่มน้ำดานูบในเขตยุโรปตอนกลาง
1.3 พวกออสโตกอส (Osthogoths) วิสิกอธ (Visigoths) และแวนดัล (Vandals) ตั้งมั่นอยู่บริเวณยุโรปตะวันออกแถบลุ่มน้ำดานูบถึงทะเลดำ หลังจากโรมันล่มสลาย ต่างก็เข้ายึดครองดินแดนต่างๆไว้ทั่วจักรวรรดิโรมันตะวันตกคือ

*
[[http://noir.exteen.com/20060108/entry#|นิยายการสร้างโรม ]]

    1. นิยายการสร้างโรม (Rome)

หลังจากกรุงทรอยถูกกรีกโจมตีได้นั้น อีเนียส (Aeneus) ราชวงศ์กรุงทรอยได้หนีภัยมาอาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไทเบอร์ และเข้าครอบครองแคว้นละติอุม ต่อมาสมัยของผู้นำอัสตานิอุส (Ascanius) ได้ไปสร้างเมืองใหม่ ชื่อ อัลบาลองกา (Albalonga) แปลว่า เมืองยาวสีขาว
ครอบครองมาเป็นเวลาถึง 300 ปี
ต่อมาในสมัยของ นูมิเตอร์ (Numitor) เป็นผู้ปกครองนั้น ได้ถูก อมูลิอุส (Amulius)
พระอนุชาจับขังไว้ และปลงพระชนม์ พระโอรสเสีย เหลือเพียงพระธิดาชื่อ ซิลเวีย (Sylvia) ซึ่งถูกบังคับให้บวชชี ต่อมานางได้คลอดโอรสแฝด ซึ่งกล่าวว่ามีเทพมาร์ส(เทพแห่งสงคราม) เป็นบิดา
มีคำทำนายว่า กุมารทั้งสองนี้จะเป็นผู้มาปราบอมูลิอุส
อมูลิอุสทราบเรื่องก็โกรธมาก จึงนำโอรสทั้งสองไปใส่ตะกร้าลอยน้ำไป ทว่าโชคก็ยังเข้าข้างทั้งสองอยู่ ทำให้ตะกร้าลอยไปติดกิ่งไม้ใกล้เนินพาลาไตน์ ทั้งสองได้ถูกแม่หมาป่าช่วยชีวิตไว้ ต่อมาชายเลี้ยงแกะก็มาพบเข้าจึงนำไปเลี้ยงและให้ชื่อว่า โรมิวลุส และ เรมุส (Romulus & Remus) เมื่อพวกเขาโตขึ้น ทั้งสองได้รวบรวมผู้คนไปตีอัลบาลองกา แล้วจึงสังหารอมูลิอุสเสีย
โรมิลุสและเรมุสพากันไปหาที่สร้างเมืองใหม่ ระหว่างการสร้างเมือง ทั้งสองก็เกิดทะเลากันเรื่องการตั้งชื่อเมือง โรมิลุสจึงฆ่าเรมุสตาย
โรมิลุสจึงตั้งตนเป็นกษัตริย์แล้วตั้งชื่อเมืองว่า โรม ตามชื่อโรมิลุส เรียกพลเมืองนี้ว่าโรมัน
ด้วยเหตุนี้ผู้คนที่อาศัยอยู่รอบๆโรมที่ไม่ชอบชาวโรมันในตอนนั้นจึงมักเรียกว่า “พวกลูกหมาป่า” และโรมที่เนินพาลาไตน์จึงมีธรรมเนียการเลี้ยงหมาป่าไว้ตัวหนึ่งจนทุกวันนี้ และมีอนุสารีย์ นางสุนัขป่าให้นมเด็ก ดุจนางสุนัขให้นมแก่โรมิวลุสและเรมุสนั่นเอง กล่าวว่าตั้งแต่ ปี 735 – 511 ก่อนคริสตกาล ได้มีกัษัตริย์ปกครองมาร่วม 7 พระองค์ โดยที่ 3 องค์ สุดท้ายเป็นพวกอีทรัสคันโรมสร้างเมื่อ 735 ปีก่อนคริสกาล โดยพวกละตินที่อาศัยตามเนินเขาที่สำคัญ 7 แห่ง คือ
พาราไทน์ (Palatine) เอสกวิไลน์ (Esquiline) ควิลินัล (Quilinal) แคปโทไลน์ (Captoline) อาเวนไทน์ (Aventine) คลิอัน (Klian) และไวนิมัล (Viminal)

อารยธรรมโรมัน
ส่วนใหญ่ได้รับการถ่ายทอดมาจากกรีก แต่ได้นำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของสังคมโรมันและบางอย่างก็ได้รับการปรับปรุง
ให้ก้าวหน้ากว่ากรีก
1. ด้านการปกครอง โรมันเป็นผู้คิดการปกครองแบบสาธารณะรัฐ
2. ด้านกฎหมาย และการเมือง เจริญก้าวหน้ายิ่งกว่าชาติอื่นๆ กฎหมายของโรมันเป็นกฎหมายที่มีลักษณะยืดหยุ่นตายตัว เริ่มด้วยกฎหมาย 12 โต๊ะ
หลังจากนั้นก็มีกฎหมายเพิ่มเติมเรื่อยๆโดยสภาซีเนต
3. สถาปัตยกรรม แม้ส่วนใหญ่จะได้รับแบบอย่างมาจากกรีกแต่ก็ได้มีการดัดแปลงและประดิษฐ์คิดค้นขึ้นเองด้วย
3.1 สถาปัตยกรรมที่เป็นแบบฉบับของโรมันแท้ได้แก่ สิ่งก่อสร้างรูปโดมตอนส่วนบนของอาคารประตูชัย ท่อระบายน้ำ และประชุมกลางเมืองที่เรียกว่า “ฟอรุม”
3.2 สถาปัตยกรรมที่โรมันนำของกรีกมาดัดแปลงได้แก่การใช้เสาระเบียงจำนวนน้อยกว่าอาคารของกรีก ส่วนแบบการก่อสร้างรูปโค้งเหนือประตูและหน้าต่าง
อาคารนั้น โรมันดัดแปลงมาจากอีทรัสแคน
ข้อควรทราบ
1.โรมันเป็นชาติแรกที่ทำคอนกรีตขึ้นใช้
2. สถาปัตยกรรมโรมันส่วนใหญ่เน้นที่ประโยชน์ใช้สอย ขนาด ( ใหญ่โตและแข็งแรง) และความสง่างาม (ด้วยการตกแต่งประดับประดาอย่างหรูหราและโออ่า
3. ตัวอย่างสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงของโรมันได้แก่ วิหารพาเธนอน หลังคารูปโดม ในกรุงโรม อัฒจันทร์สำหรับดูกีฬา โคลอสเซียม ซึ่งจุผู้ดูได้ถึง 4,500 คน
สร้างในสมัยจักรพรรดิตีตุสเมื่อ ค.ศ.80
4.ประติมากรรม โรมันำแบบอย่างของกรีกมาดัดแปลง แต่เน้นที่ความโอ่อ่า ความสง่างามและความเข้มแข็ง นิยมแกะสลักภาพเต็มตัวและภาพนูน
5. ทางหลวงแผ่นดิน เป็นชาติแรกที่สร้างถนนกว้าง 25×10 ฟุต ปูด้วยหินลงรากลึกหลายฟุต ใช้ได้ทุกฤดูกาล ทางหลวงแผ่นดินที่มีชื่อเรียกว่า Via Appia
สร้างเมื่อ 300 ปีก่อนคริสตกาล ยังปรากฏอยู่จนตราบเท่าปัจจุบัน
6. การแพทย์และการสาธารณสุข
6.1 เป็นชาติแรกที่สามารถทำคลอดทารกโดยวิธีผ่าตัดทางหน้าท้อง วิธีดังกล่าวเรียกว่า ศัลยกรรมแบบซีซาร์ นอกจากนี้ยังมีความรู้ความสามารถในการผ่าตัด
โรคคอพอกและนิ่ว
6.2 เป็นชาติแรกที่ให้กำเนิดโรงพยาบาลแห่งแรกในยุโรป
6.3 จัดให้มีการรักษาความสะอาดในกรุงโรม มีทางระบายโสโครก จัดหาน้ำสะอาดสำหรับใช้บริโภค และมีการลำเลียงน้ำจากแหล่งน้ำไปสู่แหล่งกันดารน้ำด้วยระบบท่อ
6.4แพทย์โรมันชื่อ กาเลน รวบรวมและจัดทำตำรับยา
6.5 มีสถานที่อาบน้ำสาธารณะทั่วไป
อารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมันเป็นอารยธรรมที่สืบเนื่องมาจากอารยธรรมกรีก โดยชาวอิทรัสกัน (Eturscan) ซึ่งมีถิ่นเดิมอยู่ในเอเชียไมเนอร์อพยพเข้าในแหลมอิตาลี นำเอาความเชื่อและศิลปวัฒนธรรมของกรีกเข้ามาด้วย ต่อมาบรรพบุรุษของชาวโรมันคือ ละติน ซึ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำไทเบอร์ (Tiber) ได้ขับไล่กษัตริย์อิทรัสกันออกไป ชาวละตินรวมตัวและชุมนุมกันบริเวณที่เรียกว่า ฟอรัม (Fcrum) ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของเมืองและเป็นจุดเริ่มต้นของกรุงโรมในเวลาต่อมา ชาวโรมันจึงรับเอาอารยธรมของชาวกรีกจากชาวอิทรัสกันมาเป็นต้นแบบอารยธรรมของตนด้วย
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของโรมันได้เปรียบกว่ากรีกหลายประการ คือ มีที่ราบอันกว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์เพาะปลูกได้เต็มที่ หุบเขาใกล้เคียงมีป่าไม้และเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ ที่ตั้งของกรุงโรมอยู่ห่างจากทะเล 15 ไมล์ เหมาะกับการทำการค้าทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กรุงโรงตั้งอยู่ในทำเลที่ความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์ คือ สามารถใช้แม่น้ำเป็นเส้นทางคมนาคม มีภูเขาและหนองน้ำกีดขวางผู้บุกรุก ประมาณ 100 ปีก่อนคริสตกาล โรมันได้รวบรวมดินแดนโดยรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไว้ในอำนาจ ปัจจัยที่สนับสนุนการแพร่อำนาจของอาณาจักรโรมันคือ การสร้างถนนที่มั่นคงถาวรไปยังดินแดนที่ยึดครอง ทำให้เกิดความคล่องตัว การขยายกองทัพและการคมนาคมขนส่ง การสร้างถนนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายอำนาจและสร้างความมั่นคงให้กับจักรวรรดิโรมัน
http://ebook.nfe.go.th/ebook/html/012/102.htm

การเมือง สังคม และเศรษฐกิจ
โครงสร้างทางสังคมโรมันสืบทอดมาจากโครงสร้างของสังคมสมัยเมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของอีทรัสกัน กล่าวคือ พลเมืองแบ่งออกเป็น2 กลุ่ม

1. พวกแพทริเชียน (Patricians)
ได้แก่กลุ่มผู้ดีมีสกุลมีความมั่งคั่งร่ำรวยชนกลุ่มนี้ประกอบด้วยครอบครัวที่มีสายสกุลเดียวกันมีหัวหน้าครอบครัวซึ่งมีอำนาจเหนือสมาชิกของครอบครัว พวกแพทริเชียนมีสิทธิในการปกครองสาธารณรัฐและพยายามรักษาฐานะของตนไว้ด้วยการห้ามแต่งงานกับชนชั้นสามัญ

แพทริเชียน (Patrician)

2. พวกเพลเบียน (Plebeians) หรือสามัญชน คือ ประชาชนส่วนใหญ่ของชุมชนได้แก่ ชาวนา พ่อค้า ช่างฝีมือ ฯลฯ ที่แทบจะไม่มีอำนาจหรือสิทธิทางการเมืองและสังคมเลย ยกเว้นสิทธิ์ที่ปรากฏในสภาราษฎร ถึงกระนั้นพวกเพลเบียนจำนวนไม่น้อยได้พยายามยกฐานะของตนโดยการสมัครเข้าเป็นบริวาร (Clients) ของพวกแพทริเชียน โดยการยอมรับภาระในการบริการให้แก่นาย และได้รับการพิทักษ์ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนโอกาสในการหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวจากนาย

เพลเบียน(Plebeians)

ชาวโรมันเป็นชาวนามาตั้งแต่แรกเริ่ม อาศัยอยู่บริเวณลาติอุม มีแม่น้ำไทเบอร์ไหลผ่าน พื้นที่ทำการปลูกมีข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต มะกอก องุ่น กระเทียม มีอุตสาหกรรมย่อยๆ เช่น การปั้นหม้อ เหมืองแร่ โลหกรรม
โรมมีเนื้อที่เพาะปลูกประมาณ 5 หมื่นตารางไมล์ แต่ไม่สามารถผลิตธัญญาพืชเลี้ยงประชากรได้อย่าพอเพียง จึงต้องอาศัยการค้ากับต่างแดน และการหาอาณานิคมเพื่อยึดพืชผลและทรัพย์สมบัติสู่กรุงโรม เช่น การรบชนะสงครามพิวนิคทำให้โรมได้ครอบครอง ชิซีิลี คาร์เธจ ซึ่งในคาร์เธจมีทั้งข้าวสาลี ปศุสัตว์ และไร่องุ่น เป็นต้น
การค้าขายของโรมัน เอกชนของโรมันเป็นผู้ดำเนินการ รัฐเรียกเก็บกำไรหรือภาษีจากพ่อค้า และเก็บค่าเช่าเจ้าของที่ดิน ชาวโรมันส่วนใหญ่ยึดอาชีพปิ้งขนมปัง ตัดเย็บเสื้อผ้า ก่อสร้าง ผลิตสินค้าฟุ่มเฟือย รับจ้างขนถ่ายสินค้าทางเรือ ศิลปิน รับจ้างในบ้านราช-สำนัก และทุกคนต้องเสียภาษีอากรให้แก่รัฐบาล
การค้าทั่วไปใช้เหรียญเป็นสื่อกลาง โรมันเด่นในเรื่องการทหาร และตีชนะดินแดนใดก็ให้ชาวโรมันบริหาร ครอบครองที่ดินส่งผลผลิตสู่กรุงโรม จนมีคำกล่าวว่าสินค้าออกของโรมคือ กฎหมายและรัฐบาล ที่เป็นการค้าต่างแดนจริงๆ คงมีเป็นส่วนน้อย สินค้าเข้าของโรมคือ เครื่องเทศ น้ำหอม ยา ฝ้าย เครื่องโลหะ อัญมณีอินเดีย ไหมจีน
http://www.geocities.com/bankeibler/page.html
กฎหมายของโรมัน

กฎหมายโรมันนับเป็นมรดกทางการปกครองสำคัญที่ชาวโรมันทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังกฎหมายฉบับแรกของโลกคือ กฎหมายสิบสองโต๊ะ ซึ่งประกาศใช้ในปี 450 ก่อนคริสต์ศักราช กฎหมายนี้ลักษณะที่เข้มงวดและมีบทลงโทษที่รุนแรง เมื่อโรมันขยายตัวเป็นจักรวรรดิ มีการติดต่อค้าขายกับดินแดนต่างๆ ซึ่งมีกฎหมายและขนบประเพณีเฉพาะ ชาวโรมันได้รวบรวมกฎหมายที่ได้พบเห็นนี้มาปรับปรุงให้เข้ากับกฎหมายเดิมจนได้กฎหมายที่เหมาะสมกับจักรวรรดิที่ประกอบด้วยชนหลายกลุ่ม กฎหมายนี้เรียกว่า จุส เจนติอุม (jus gentium) ซึ่งหมายถึงกฎหมายของชนทั้งหลาย
ในช่วงปลายจักวรรดิโรมันได้มีการชำระรวบรวมประมวลกฎหมายโดยอาศัยเอกสารต่างๆ เป็นหลัก เช่น มติสภาเซเนท พระราชกฤษฎีกาของพระจักรพรรดิ หลักปรัชญา และข้อคิดเห็นในกฎหมายที่มีชื่อ เป็นต้น กฎหมายฉบับที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ ประมวลกฎหมายจัสติเนียน
กฎหมายโรมันได้รับอิทธิพลจากปรัชญาสำนักสโตอิคทำให้หลักการของกฎหมายวางอยู่บนพื้นฐานของกฎธรรมชาติ (Natural Laws) ถือว่ากฎหมายคือสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้น กฎหมายจึงสามารถใช้คลอบคลุมมนุษย์ทุกคนและทุกรัฐอย่าเท่าเทียมกัน
หลักการสำคัญของกฎหมายโรมันคือให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิของบุคคล ทุกคนจะได้รับความเท่าเทียมกันตามกฎหมายไม่มีการทรมานผู้ต้องหาเพื่อให้รับสารภาพ รวมทั้งถือว่าผู้ต้องหาคือผู้บริสุทธิ์ตราบเท่าที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ความผิดได้ แม้แต่ทาสก็ได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายลักษณะทาส ทาสมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าทดแทนในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้านาย

กฎหมายที่มีประสิทธิภาพและมีระบบของโรมันเหล่านี้กลายเป็นแม่แบบของกฎหมายประเทศต่างๆ ในยุโรปในสมัยต่อมา โดยเฉพาะประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส รวมทั้งประเทศต่างๆ ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้
**http://www.geocities.com/bankeibler/page4.html**
ศิลปะโรมัน (พ.ศ.340 – พ.ศ.870)

แบบอย่างศิลปะโรมันปรากฎลักษณะชัดเจนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 4 เรื่อยมา
จนกระทั่งประมาณ พ.ศ.1040 โดยในช่วงเวลาหลังได้เปลี่ยนสาระเรื่องราวใหม่
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ สืบต่อมาเป็นเวลาอีกนานมาก จนกระทั่งเมื่อ
กรุงคอนสะแตนติโนเปิลได้กลายเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมัน ในปี
พ.ศ.870 ทำให้สมัยแห่งโรมันต้องสิ้นสุดลง แหล่งอารยธรรมสำคัญของโรมัน คือ
อารยธรรมกรีกและอีทรัสกัน

จิตรกรรมของโรมัน อาศัยจากการค้นคว้าข้อมูลจากเมืองปอมเปอี สตาบิเอ และ
เฮอร์คิวเลนุม ซึ่งถูกถล่มทับด้วยลาวาจากภูเขาไฟวิสุเวียส เมื่อ พ.ศ. 622 และถูก
ขุดค้นพบในสมัยปัจจุบัน จิตรกรรมผาฝนังประกอบด้วยแผงรูปสี่เหลี่ยผืนผ้า ซึ่ง
มักเลียนแบบหินอ่อน เป็นภาพทิวทัศน์ ภาพคน และภาพเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม
มีการใช้แสงเงา และกายวิภาคของมนุษย์ชัดเจน เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกับกาวน้ำปูน
และสีขี้ฝึ้งร้อน นอกจากการวาดภาพ ยังมีภาพประดับด้วยเศษหินสี (Mosaic)
ซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งบนพื้นและผนังอาคาร

ประติมากรรมของโรมันรับอิทธิพลมากจากชาวอีทรัสกันและกรีกยุคเฮเลนิสติก
แสดงถึงลักษณะที่ถูกต้องทางกายภาพ เป็นแบบอุดมคติที่เรียบง่าย แต่ดูเข้มแข็ง
มาก ประติมากรรมอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมคือประติมากรรมรูปนูนเรื่องเกี่ยวกับ
ประวัติศาสตร์ มีรายละเอียดของเรื่องราว เหตุการณ์ถูกต้อง ชัดเจน ประติมากรรม
โรมันในยุคหลัง ๆ เริ่มเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนามากเป็นพิเศษ
วัสดุที่ใช้สร้างประติมากรรมของโรมันมักสร้างขึ้นจาก ขี้ผึ้ง ดินเผา หิน และสำริด

สถาปัตยกรรมโรมัน ได้แก่อาคารต่าง ๆ ส่วนมากเป็นรูปทรงพื้นฐาน วัสดุที่ใช้
สร้างอาคารได้แก่ ไม้ อิฐ ดินเผา หิน ปูน และคอนกรีต ซึ่งชาวโรมันเป็นชาติแรก
ที่ใช้คอนกรีตอย่างกว้างขวาง และพัฒนารูปแบบออกจากระบบเสาและคาน ไป
สู่ระบบโครงสร้างวงโค้ง หลังคาทรงโค้ง หลังคาทรงกลม และหลังคาทรงโค้ง
กากบาท มีการนำสถาปัตยกรรมที่สำคัญของกรีกทั้ง 3 แบบ มาเปลี่ยนแปลงและ
ปรับปรุงให้วิจิตรบรรจงขึ้นชาวกรีกใช้เสาเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง แต่ชาว
โรมันมักจะเพิ่มการตกแต่งลงไป โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ทางโครงสร้างเท่าไร
นัก ลำเสาของกรีกจะเป็นท่อน ๆ นำมาวางซ้อนต่อกันขึ้นไป แต่เสาของโรมันจะ
เป็นเสาหินท่อนเดียวตลอด รูปแบบอนุสาวรีย์ที่พบมากของโรมันคือ ประตูชัย
เป็นสิ่งก่อสร้างตั้งอิสระประดับตกแต่งด้วยคำจารึก และรูปนูนบรรยายเหตุการณ์
ที่เป็นอนุสรณ์ สถาปัตยกรรมที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโรมัน คือสะพานส่งน้ำ ซึ่ง
ใช้เป็นทางส่งน้ำจากภูเขา มาสู่เมืองต่าง ๆ ของชาวโรมันเป็นสิ่งก่อสร้างที่แสดง
ถึงความก้าวหน้าทางวิศวกรรมของโรมันอย่างเห็นได้ชัด

สถาปัตกรรมโรมัน ในช่วง พ.ศ. 600 – 873 ได้สะท้อนให้เห็นความมั่งคั่งและ
อำนาจของจักรวรรดิโรมัน อาคารสถาปัตยกรรมมีขนาดกว้างใหญ่ และมีการตก
แต่งอย่างฟุ่มเฟือย มีการควบคุมทำเลที่ตั้ง การจัดภูมิทัศน์อย่างพิถีพิถัน มีการ
สร้างลานชุมนุมชาวเมือง โรงมหรสพหรือสนามกีฬา โรงอาบน้ำสาธารณะ และ
อาคารที่พักอาศัยต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ภายในอาคารมักประดับด้วยหินอ่อน
หินสี และประติมากรรมแกะสลักตกแต่งอย่างสวยงาม
http://www.geocities.com/bankeibler/page5.html
การปกครองสมัยสาธารณรัฐ
อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยที่สำคัญที่ชาวโรมันรับเอาการปกครองแบบสาธารณรัฐมาใช้ คือ ความบีบบังคับเมื่อครั้งอยู่ภายใต้การปกครองของชาวอีทรัสกัน ในครั้งนั้นโรมอยู่ภายใต้ระบอบกษัตริย์ที่เรียกว่า Rex กษัตริย์มีอำนาจสูงสุดในทางการทหาร การปกครองและการศาสนา มีอำนาจสูงสุดในการตรากฎหมาย ตลอดจนตัดสินคดีพิพาทต่างๆ การปกครองดังกล่าวเป็นการปกครองโดยบุคคลคนเดียวที่ได้รับมอบอำนาจสิทธิ์ขาด ด้วยความรังเกียจในระบอบดังกล่าว เมื่อเป็นอิสระ โรมจึงสถาปนาระบอบสาธารณรัฐขึ้นปกครอง
คำว่า "สาธารณรัฐ" ในภาษาอังกฤษคือ republic มาจากคำภาษาละติิันอันเป็นภาษาของชาวโรมัน 2 คำคือ res+publica มีความหมายว่า "ของประชาชน" ตามนัยนี้หมายความว่า อำนาจการปกครองเป็นของประชาชน ซึ่งแตกต่างจากระบอบกษัตริย์ ที่อำนาจการปกครองอยู่ที่กษัตริย์ อย่างไรก็ตาม การปกครองสาธารณรัฐโรมันสมัยต้นๆ อำนาจการปกครองยังไม่ได้อยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริงตามความหมายของชื่อ ทั้งนี้เพราะอำนาจการปกครองยังคงอยู่กับสภาเซเนท ซึ่งประกอบขึ้นด้วยสมาชิกซึ่งเป็นคนส่วนน้อย ต่อมาภายหลังเมื่อมีการขยายสิทธิพลเมืองโรมันกว้างขวางขึ้น ทำให้ราษฎรส่วนใหญ่มีสิทธิ์มีเสียงในการปกครอง รูปแบบการปกครองของสาธาณรัฐโรมันจึงตรงกับความหมายดังกล่าว
องค์กรทางการปกครองของสาธาณรัฐโรมันมีดังต่อไปนี้

องค์กร

บทบาท/หน้าที่

กงสุล

เป็นประมุขในทางการบริหาร มีจำนวน 2 คน มีอำนาจเท่าเทียมกัน มีอำนาจเต็มที่ทั้งในยามสงครามและยามสงบ มีอำนาจสูงสุดในทางการทหาร ด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ตำแหน่งกงสุลเลือกมาจากกลุ่มชนชั้นสูงของสังคมโรมันที่เรียกว่า แพทริเชียน โดยสภาราษฎรเป็นผู้ลงมติเลือก อยู่ในตำแหน่งคราวละปี มีอำนาจยับยั้งซึ่งกันและกันได้ ในยามสงครามหรือในยามฉุกเฉิน กงสุลอาจมอบอำนาจให้แก่บุคคลคนเดียวเรียกว่า ผู้เผด็จการหรือผู้บัญชาการทัพ ทั้งนี้โดยคำแนะนำยินยอมของสภาเซเนท ผู้เผด็จการอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 6 คน ในระหว่างอยู่ในตำแหน่งผู้เผด็จการมีอำนาจเด็ดขาดในทางการทหาร มีสิทธิเรียกระดมพลและลงโทษผู้ประพฤติผิดวินัยได้เต็มที่ ในการปฏิบัติงานโดยทั่วไป กงสุลบริหารงานการปกครองด้วยความช่วยเหลือของสภาเซเนท

สภาเซเนท

ประกอบด้วยสมาชิก 300 คนเรียกว่า เซเนเตอร์ หรือสมาชิกสภาเซเนท ดำรงตำแหน่งตลอดชีพ สมาชิกเหล่านี้เลือกจาก แพทริเชียน โดยกลสุลเป็นผู้แต่งตั้ง กงสุลที่ปฏิบัติหน้าที่ครบตามวาระหลังจะได้เป็นสมาชิกสภาเซเนทโดยอัตโนมัติ สภาเซเนทควบคุมเกี่ยวกับการคลัง การต่างประเทศ การประกาศสงคราม ทำหน้าที่ตัดสินคดี และมีสิทธิยับยั้งมติของสภาราษฎร ในสมัยต้นๆของระบอบสาธาณรัฐ สภาเซเนทคุมอำนาจการปกครอง ทั้งนี้เพราะกงสุลมักขอความเห็นและคำแนะนำจากสภาเซเนท ซึ่งนโยบายส่วนใหญ่มักดำเนินไปเพื่อผลประโยชน์ของพวกแพทริเชียนทั้งสิ้น

สภาราษฎร

ประกอบขึ้นด้วยราษฎรโรมันทั้งพวกแพทริเชียนและเพลเบียน เรียกว่า โคมิตาคิวริเอตา มีหน้าที่แต่งตั้งกงสุลและเจ้าหน้าที่บริหารงานอื่นๆ ให้ความเห็นยินยอม หรือปฏิเสธกฎหมายที่กงสุลและสภาเซเนทเสนอ ทำหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทที่สำคัญๆ

เป็นที่น่าสังเกตว่า องค์กรทั้ง 3 เป็นองค์กรที่ทรงไว้ซึ่งอำนาจในการปกครองแต่ละองค์กรต่างระแวดระวังและคานอำนาจซึ่งกันและกัน มิให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งมีอำนาจสูงสุดแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ก็ทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ
การปกครองโดยวิธีดังกล่าว ไม่เป็นที่พอใจของพวก เพลเบียน เท่าไรนัก ทั้งนี้เพราะพวก เพลเบียน ยังถูกกีดกันจากตำแหน่งหน้าที่การงานในองค์กรที่เป็นหัวใจของการปกครอง คือ กงสุล และสภาเซเนทในปี 450 ก่อนคริสต์ศักราช มีการร่างกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Law of the Twelve Tables) ระบุถึงสิทธิและหน้าที่ของพวกแพทริเชียนและเพลเบียน
กฎหมายฉบับนี้ให้สิทธิเพลเบียนออกกฎหมายร่วมกับพวกแพทริเชียน โดยมีสภาของตนเอง เรียกว่า ไทรเบิล ทำหน้าที่ออกกฎหมาย และแต่งตั้งผู้แทนของตนเรียกว่า ทรีบูน จำนวน 10 คน เป็นประจำทุกปี ทรีบูนทั้ง 10 เป็นผู้นำในสภาและเป็นผู้ดูแลรักษาผลประโยชน์ของพวกเพลเบียนจากการเอารัดเอาเปรียบจากพวกแพทริเชียน เมื่อมีข้อข้องใจใดๆ พวกเพลเบียนก็จะร่างข้อข้องใจของตนออกมาในรูปของมติเรียกร้องให้มีการแก้ไขเรียกว่า เพบลิไซท์ (คำนี้ต่อมาใช้ในความหมายว่าประชามติ) ในระยะศตวรรษที่ 5 และ 4 ก่อนคริสต์ศักราช พวกเพลเบียนได้รับอนุญาติให้มรสกับพวกแพทริเชียนได้และได้รับสิทธิเข้านั่งในสภาเซเนท และมีสิทธิในตำแหน่งกงสุลตามลำดับ การปกครองในระบองสาธารณรัฐซึ่งแต่เดิมเป็นลักษณะการปกครองแบบที่อำนาจการปกครองอยู่ในมือคนกลุ่มเล็กๆ ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปมีรูปลักษณ์เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นตามลำดับ
การปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐของโรมมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในทางดินแดนของโรมในขณะนั้น กล่าวคือเป็นรัฐเล็กๆ มีอาณาเขตไม่กว้างใหญ่นัก ประชากรมีอยู่ไม่มาก การปกครองในลักษณะดังกล่าวก็มีความเหมาะสม แต่เมื่อโรมแผ่ขยายแสนยานุภาพรวมดินแดนต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยผู้คนที่ต่างภาษา ต่างศาสนา ต่างขนบธรรมเนียมประเพณี กระจายกันอยู่ในบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาล รูปแบบการปกครองซึ่งจัดเตรียมไว้ใช้กับนครรัฐเล็กๆ แบบสาธารณรัฐโรมันจึงไม่เหมาะสมอีกต่อไป รูปการปกครองที่จะนำมาใช้ใหม่กับดินแดนอันกว้างใหญ่ที่โรมตีได้ คือรูปแบบการปกครองแบบจักรวรรดิมีพระจักรพรรดิเป็นประมุขสูงสุด อำนาจการปกครองจะมารวมอยู่ที่พระองค์แต่ผู้เดียว สภาเซเนท สภาราษฎร และสถาบันอื่นๆ คงอยู่แต่เพียงในนาม
http://www.geocities.com/bankeibler/page2.html
โรมันสมัยจักรวรรดิ

จูเลียส ซีซาร์

ออกุสตุส ซีซาร์

ระบอบจักรวรรดิโรมันเริ่มอย่างเป็นทางการในสมัยของ ออกุสตุส ซีซาร์ ในปี 27 ก่อนคริสต์ศักราช ความจริงระบอบนี้เริ่มมองเห็นได้แล้วตั้งแต่สมัยของจูเลียส ซีซาร์ ผู้ยกเลิกระบอบการปกครองตามระบอบสาธาณรัฐและปกครองโรมโดยตนเองเป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจทั้งปวง ถือว่าเป็นการปกครองโดยบุคคลคนเดียวอย่างแท้จริง เขาได้รวบรวมอำนาจของกงสุล ทรีบูน ผู้เผด็จการ และอำนาจสูงสุดในทางศาสนา บังคับสภาเซเนทให้ยอมรับข้อเสนอต่างๆ โดยไม่ต้องออกความเห็น**
เมื่อออกุสตุส ขึ้นปกครองได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรก และดำเนินรอยตามจูเลียส ซีซาร์ ในการปกครองดังกล่าวคือ ได้รวบรวมอำนาจทั้งหมดมาอยู่ที่พระองค์แต่เพียงผู้เดียว องค์กรทางการปกครองที่เคยมีอยู่ในสมัยสาธารณรัฐมีอยู่แต่ในนามเท่านั้น นอกจากจะเข้าสวมอำนาจที่กระจายอยู่ตามองค์กรต่างๆแล้ว จักรพรรดิยังมีอำนาจในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่และข้าราชการประจำส่วนราชการต่างๆ และควบคุมอำนาจการเก็บภาษีอากร ซึ่งแต่เดิมเป็นอำนาจของสภาเซเนท
ระบอบสาธารณรัฐโรมันจึงค่อยๆ สลายตัวลงกลายเป็นระบอบกษัตริย์ หรือจักรพรรดิผู้ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในจักรวรรดิของพระองค์ จักรพรรดิที่ครองต่อจากออกุสตุสได้ดำเนินรอยตามพระองค์ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและฟื้นฟูลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ในทางศาสนา ทั้งยังเพิ่มการปฏิบัติที่นอกเหนือออกไป คือพิธีการบูชาจักรพรรดิเยี่ยงเทพเจ้า ในบางท้องถิ่นของโรมทางตะวันออก นิยมสักการะบูชาจักรพรรดิเยี่ยงเทพเจ้าตั้งแต่จักรพรรดิยังดำรงพระชนม์อยู่ การบูชาจักรพรรดิมีความสำคัญทั้งทางด้านศาสนาและการเมืองและชาวโรมันที่ดีจำต้องแสดงความจงรักภักดีต่อจักรพรรดิผู้เป็นสมมติเทพ
ในการบริหารการปกครองภายในจักรวรรดิโรมได้ใช้วิธีการอะลุ้มอล่วย ทั้งนี้เพราะการปกครองจักรวรรดิที่กว้างใหญ่ไพศาลที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่ผิดแผกแตกต่างกันอย่างมากมาย อีกทั้งยังต่างกันในระดับความเจริญเป็นเรื่องที่ปฏิบัติยาก จะหารูปการปกครองใดโดยที่จะเหมาะสมกับดินแดนทุกๆแห่งในจักรวรรดิย่อมเป็นไปไม่ได้ โรมจึงดัดแปลงการปกครองให้เข้ากับความจำเป็นและขนบธรรมเนียมของท้องถิ่น ดินแดนที่อยู่ติดกับพรมแดนโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางแถบแม่น้ำไรน์และแม่น้ำดานูบ ซึ่งมีชนเผ่าเยอรมันคุกคามอยู่เนืองๆ โรมเลือกใช้การปกครองแบบทหาร บริเวณที่ตั้งค่ายทหารโรมันภายหลังได้เจริญกลายเป็นเมืองยั่งยืนถาวรต่อมาหลังจากจักรวรรดิโรมันถึงแก่ความพินาศแล้ว เมืองเหล่านี้มีอาทิเช่น โคโลญและเวียนนา เป็นต้น
ดินแดนทางภาคตะวันออกของจักรวรรดิเช่นดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้อารยธรรมกรีก จักรพรรดิปล่อยให้การปกครองคงรูปอยู่แต่เดิม แต่ในบางแห่ง เช่น อียิปต์ และบางท้องที่ที่คุ้นเคยกับการปกครองแบบมีเจ้าปกครอง จักรพรรดิจัดส่งข้าหลวงออกไปปกครองอย่างมีอำนาจเต็มที่ ส่วนในดินแดนทางภาคตะวันตก เช่น ในสเปน และฝรั่งเศส โรมจัดการปกครองเองเป็นส่วนใหญ่ มีการแบ่งมลฑลออกเป็นหน่วยเล็ก ใหหน่วยเล็กดังกล่าวจัดการเกี่ยวกับกิจการท้องถิ่นโดยตัวเอง หน่วยเล็กนี้เรียกว่า civitas มีลักษณะคล้ายกับนครรัฐกรีกโบราณหรือโรมในสมัยสาธารณรัฐ แต่ละ civitas หรือ civitates(พหูพจน์) เหล่านี้หลายแห่งได้เจริญขึ้นเป็นเมืองใหญ่โตมาจนทุกวันนี้ เช่น บอร์โด ลียอง ในประเทศฝรั่งเศสและทรีเอ ในเยอรมันทาง ตะวันตก เป็นต้น
พลังยึดเหนี่ยวจักรวรรดิให้คงอยู่ได้อย่างเป็นระเบียบและมีเสถียรภาพมั่นคงมาได้ยาวนานถึง 500 ปี ที่สำคัญที่สุดคือ พลังแสนยานุภาพ กองทัพของโรมันได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านอาวุธและยุทธวิธี โรมจึงมีกองทัพที่ได้ชื่อว่ามีระเบียบวินัย มีความแข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพและคล่องแคล่ว ทั้งนี้โดยอาศัยระบบถนนโรมันที่ขึ้นชื่อพอๆ กันในด้านประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการสื่อสารคมนาคม พลังยึดเหนี่ยวที่มีความสำคัญอื่นๆ ได้แก่ หน่วยราชการที่มีภารกิจทางด้านการบริหารที่มีประสิทธิภาพ การใช้เงินเหรียญประเภทเดียวกัน การใช้ภาษาร่วมกัน (ทางตะวันตกใช้ภาษาละติน ทางตะวันออกใช้ภาษากรีก) สิ่งเหลานี้เป็นเครื่องผูกพันคนในจักรวรรดิให้มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และสุดท้าย การให้สิทธิความเป็นพลเมืองโรมันอย่างกว้างขวางภายในจักรวรรดิ ใน ค.ศ.212 จักรพรรดิคาร์คัลลาน ขยายสิทธิความเป็นพลเมืองโรมันให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นทั้งหมด ยกเว้นชนชั้นต่ำที่สุดของสังคม ทำให้คนในจักรวรรดิทั้งหมดได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายโรมันกันถ้วนหน้า ความภาคภูมิใจและเสถียรภาพในส่วนบุคคลดังกล่าว คือพลังสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้จักรวรรดิมั่นคงและยืนยงมาได้นานถึง 5 ศตวรรษ

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มกราคม 2, 2008 นิ้ว History

 

ประวัติศาสตร์และอารยธรรมโรมัน

ประวัติศาสตร์และอารยธรรมโรมัน

โรมสมัยต้น

โรมก่อตัวจากหมู่บ้านทางภาคกลางของอิตาลี  อุปนิสัยของโรมันคือ ความเคร่งขรึมและสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ อย่างช้า ๆ แต่มั่นคง ความสามารถทางทหารของโรมันอยู่ที่ความอดทนมากกว่ายุทธวิธีที่ฉลาดปราดเปรื่อง

ระยะแรกสำหรับประวัติศาสตร์โรมนั้นค่อนข้างมืดมน ราว 750 ปีก่อน ค.. มีผู้อพยพมาตั้ง ถิ่นฐานแถบภูเขาพาเลนไตน์ใกล้แม่น้ำไทเบอร์  ต่อมาประมาณ 600 ปี ก่อน ค.. บรรดาผู้อพยพต่างรวมตัวกันตั้งนครรัฐแห่งโรมขึ้น ทำเลของนครรัฐตั้งอยู่ในที่ซึ่งเหมาะสม เหมาะสำหรับความเจริญของโรมในอนาคตทางเหนือของโรมติดต่อกัยดินแกนที่เรียกว่า อีทรูเรีย คือ ทัสคานีปัจจุบัน อีทรูเนียเป็นที่อยู่อาศัยของพวกที่มีอารยธรรมสูงเรียกว่า อีทรัสกัน ซึ่งเป็นพวกที่วางรูปวัฒนธรรมของชาวโรมันแต่เริ่มแรก

ชาวอีทรัสกันเป็นพวกที่รับอารยธรรมกรีกมาผสมผสานกับอารยธรรมของตนและส่งต่อให้กับโรม การปกครองของโรมในระยะแรกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ที่มีพื้นเพเป็นอิทรัสกัน ความเป็นผู้นำที่มีความสามารถและมุ่งต่อการรุกราน ทำให้ชาวโรมันเป็นชาติที่ทรงอำนาจเหนือชนชาติอื่น ๆ ในละติอุมชุมชนโรมันเจริญทั้งกำลังและความมั่งคั่ง และแล้วก็ได้มีการสร้างวิหารใหญ่โตตามแบบสถาปัตยกรรมของอีทรัสคันขึ้นบนภูเขาแห่งหนึ่งสำหรับเทพเจ้าจูปีเตอร์ของชาวโรมัน

ในราว 509 ก่อน ค.. ขุนนางโรมันประสบความสำเร็จในการล้มกษัตริย์อีทรัสกัน  และเปลี่ยนแปลงระบอบกษัตริย์มาเป็นสาธารณรัฐปกครองโดยชนชั้นขุนนาง มีประมุข 2 คน แทนที่กษัตริย์เรียกว่ากงสุลสภาขุนนาง (สภาเชเนท) เลือกตั้งกงสุลเป็นประจำทุกปี กงสุลปกครองโดยมีสภาขุนนางเป็นที่ปรึกษาการปกครองนั้น แม้จะปกครองในนามชาวโรมันแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของชนชั้นสูง คือ แพทริเชียน ส่วนชนชั้นต่ำหรือเพลเบียนนั้น เกือบไม่มีสิทธิทางการเมืองเลย การแต่งงานระหว่าง     เพลเบียนกับแพทริเชียนยังเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาดในระยะแรก ๆ

พวกเพลเบียนค่อย ๆ ยกฐานะของตน เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง ในชั้นแรกพวกนี้รวมกลุ่มกันจัดตั้งสภาที่ปรึกษา ซึ่งต่อมากลายเป็นองค์กรสำคัญทางการเมืองที่เรียกว่าสภาของเผ่า พวกเพลเบียนเลือกตัวแทนของตนเรียกว่า ทรีบูน ให้เป็นปากเสียงและเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของตนในรัฐบาลซึ่งคุมโดยแพทริเชียน ทรีบูนเป็นพวกที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน

เมื่อประมาณ 450 ก่อน ค.. ได้มีการนำกฎหมายที่สืบทอดกันมาตามประเพณีมาเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร คือ กฎหมายสิบสองโต๊ะ กฎหมายนี้ช่วยพิทักษ์บรรดาเพลเบียนให้พ้นจากอำนาจตามอำเภอใจของกงสุลที่มาจากชนชั้นแพทริเชียน กฎหมายสิบสองโต๊ะนี้นับว่ามีความสำคัญมากต่อพัฒนาการทางกฎหมายรัฐธรรมนูญของโรมัน

การพิทักษ์ทางกฎหมาย ทำให้เพลเบียนสามารถจัดการกับเรื่องการจัดสรรที่ดินให้พวกตนได้รับการแบ่งปันบ้าง สภาของเป่าของพวกเพลเบียนได้รับอำนาจในการริเริ่มร่างกฎหมายและมีบทบาทในการปกครองโรมัน ช่วงนี้การแต่งงานกลายเป็นสิ่งไม่ต้องห้าม ต่อมามีกฎหมายที่รองรับให้เพลเบียนมีบทบาทในการปกครองมากขึ้น มาตรการเหล่านี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโรมไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสำเร็จบริบูรณ์ในปี 287 ก่อน ค..

การแผ่อำนาจของโรมนั้น มีทั้งการเป็นพันธมิตรและการทำสงครามกับพวกที่เป็นศัตรู อาณาจักรของโรมขยายตัวไปเรื่อย ๆ แต่ชาวโรมันมักจะใจกว้างต่อบรรดาชาติอิตาลีที่ตนเข้าปกครอง โดยยอมให้มีการปกครองตนเองมากพอสมควร จึงมักประสบความสำเร็จในการรักษาความสวามิภักดิ์ไว้ได้ ในเวลาต่อมาเมื่อพิสูจน์ว่าคนในปกครองจงรักภักดีก็จะยอมให้เป็นพลเมืองโรมัน ด้วยวิธีการนี้โรมจึงสามารถสร้างจักรวรรดิที่มีอายุยืนยาวกว่าจักรวรรดิเอเธนส์ของเพริเคลส เมื่อประมาณ 265 ก่อน ค.. โรมอยู่ในฐานะที่ทัดเทียมกับคาร์เธจและนครรัฐทายาทของกรีก คือ เป็นหนึ่งในมหาอำนาจของทะเล เมดิเตอเรเนียน

 

สงครามพิวนิค (264 – 146 ก่อน ค..)

เมื่อโรมกับคาร์เธจเผชิญหน้ากัน ได้เกิดสงคราม 3 ครั้ง เรียกว่า สงครามพิวนิค (The Punic War, พิวนิคมาจากคำว่า โพเอนุส ในภาษาละติน ซึ่งเป็นคำเรียกพวกฟินิเชียหรือคาร์เธจ) สงครามพิวนิคครั้งแรกเกิดเมื่อ 246 – 241 ก่อน ค.. ครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อ 218 – 201  ก่อน.. สงครามสองครั้งแรกนี้กินเวลานานและรุนแรงมาก โรมพ่ายแพ้ในการรบหลายครั้ง แต่ก็อดทนจนได้ชัยชนะในการรบครั้งสุดท้ายเมื่อ 149 – 146 ก่อน ค.. คาร์เธจเหลือแต่ซาก โรมได้ครองดินแดนอันกว้างใหญ่ของคาร์เธจในอาฟริกา ซิซิลี และ สเปน

ชัยชนะของโรมเหนือคาร์เธจ ยังผลให้โรมมีอำนาจเหนือรัฐอื่นในทะเลเมดิเตอเรเนียน บรรดาอาณาจักรกรีกเฮลเลนิสติคที่แก่งแย่งชิงดีกัน มักของความช่วยเหลือจากโรมให้ช่วยต่อต้านศัตรูของตน โรมให้ความสนับสนุนเพื่อรักษาดุลย์แห่งอำนาจ แต่ต่อมาโรมเข้าปกครองเสียเอง ระหว่างศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.. โลกเฮลเลนิสติคส่วนมากอยู่ภายใต้อำนาจโรมันทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อมา 189 ก่อน ค.. โรมได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือพวกซีลูซีด และปราบปรามแมกซิโดเนียได้ในปี 148 ก่อน ค.. และทำลายเมืองคอรินธ์ ในปี 146 ก่อน ค.. โรมค่อย ๆ เปลี่ยนกรีซให้กลายเป็นมณฑลโรมันภายใต้การปกครองของข้าหลวงแห่งรัฐ อาณาจักรเฮลเลนิสติคที่เหลือไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะยอมรับความเป็น   ผู้นำของโรมและค่อย ๆ กลายเป็นมณฑลของโรมไปในที่สุด

ในส่วนของโรมนั้น เมื่อเป็นใหญ่เหนือโลกทะเลเมดิเตอเรเนียน ได้เกิดปัญหาในการปรับตัวของรัฐบาลให้เหมาะสมกับการปกครองจักรวรรดิ

 

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองระหว่างปี 246 – 146 ก่อน ค..

ช่วงระยะเวลาระหว่างสงครามพิวนิคทั้ง 3 ครั้ง ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโรม ส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงมาจากความเป็นมาในความมั่งคั่งร่ำรวย และความสำเร็จทางด้านการทหาร ซึ่งค่อย ๆ บ่อนทำลายคุณความดีดั้งเดิมของพลเมือง อีกนัยหนึ่งเมื่อโรมพิชิตกรีกนั้น โรมค่อย ๆ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโลกเฮลเลนิสติค ทั้งความฟุ่มเฟือยและความเป็นปัจเจกชนนิยมอย่างเต็มที่ สิ่งเหล่านี้ได้กัดกร่อนความเป็นอนุรักษ์นิยม และการอุทิศตนเพื่อส่วนรวมของคนโรมัน แต่การสูญเสียของโรมก็ได้รับการทดแทนในเรื่องของวัฒนธรรมและภูมิปัญญา โรมได้รับหลักสโตอิคเกี่ยวกับเรื่องภราดรภาพสากลเป็นหลักปรัชญาที่เหมาะสมสำหรับจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ รัฐบุรุษโรมันหลายคนได้กลายเป็นพวกสโตอิค ส่วนทางด้านการเกษตรโรมได้รับเอาเทคนิคการเกษตรแบบเฮลเลนิสติคเข้ามาด้วย คือ การทำกสิกรรมขนาดใหญ่

การทำกสิกรรมขนาดใหญ่ หรือ ลาติฟุนเดียเกิดขึ้นเนื่องจากการทำสงครามได้นำความมั่งคั่งและทาสจำนวนมากมาสู่ชาวโรมัน อิตาลีทางภาคกลาง และภาคใต้จึงเต็มไปด้วยผืนนาขนาดใหญ่เข้าแทนที่นาอิสระเล็ก ๆ นาอิสระเล็ก ๆ จะผลิตข้าวชนิดต่าง ๆ ส่วนลาติฟุนเดียมุ่งผลิตพืชผลที่ค้ากำไร เช่น องุ่น เพื่อทำเหล้า มะกอกเพื่อทำน้ำมันมะกอก รวมทั้งเลี้ยงแกะ ชาวนาเล็ก ๆ นั้น เมื่อถูกเกณฑ์ทหารบ่อยเข้า ได้ขายที่นาแก่เจ้าของลาติฟุนเดีย และในที่สุดต้องอพยพเข้าเมืองไปอยู่ตามเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะในกรุงโรม ต่อมาคนอพยพที่ว่างงานเหล่านี้จะก่อความไม่สงบหลายครั้ง จนทำให้รัฐบาลหวาดเกรงและใช้นโยบายให้อาหารตลอดจนการบันเทิงโดยไม่คิดมูลค่า จนเป็นการเพาะนิสัยว่าจะต้องได้ ขนมปังและละครสัตว์

ในขณะที่โรมต่อสู่กับคาร์เธจนั้น การค้าที่เติบโตขึ้นทำให้เกิดชนชั้นใหม่คือนักธุรกิจและผู้รับเหมางานสาธารณประโยชน์ เมื่อพวกนี้มั่งคั่งขึ้นจะกลายเป็นคู่แข่งของขุนนางสมาชิกสภาเซเนทเจ้าของที่ดิน ชนชั้นใหม่นี้เรียกว่า อัศวิน หรือ ผู้ขี่ม้าเพราะพวกนี้สามารถรับราชการในกองทัพโดยเป็นทหารม้ามากกว่าทหารราบ ชนชั้นขี่ม้านี้ปกติจะไม่สนใจการเมืองนอกจากเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของตน ชัยชนะทางทหารและการติดต่อกับโลกเฮลเลนิสติค ทำให้พวกขุนนางเจ้าที่ดินและชนชั้นขี่ม้ามีความเป็นอยู่ที่ร่ำรวยฟุ่มเฟือย ช่วงระหว่างคนรวยกับคนจนก็ขยายกว้างไปเรื่อย ๆ แรงกดดันความไม่สงบในสังคมเริ่มคุกคามเสถียรภาพของสังคมโรมัน

ข้าหลวงและขุนนางโรมันในสมัยนี้ปกครองแบบไม่ยุติธรรมซึ่งต่างจากในสมัยแรก มีการขูดรีดประชาชนประชาชนเพื่อแสวงหาความมั่งคั่งเป็นส่วนตัว การฉ้อราษฎร์บังหลวงนี้ได้รับการลงโทษสถานเบาเพราะผู้พิพากษาบางคนลังเลใจที่จะลงโทษขุนนางชั้นเดียวกับตน และบางคนก็รับสินบน

 

ความรุนแรงและการปฏิวัติในศตวรรษสุดท้ายของสาธารณรัฐ (133 – 30 ปี ก่อน ค..)

ท่ามกลางปัญหานั้นได้มีความพยายามที่จะปฏิรูปไทบีเรียส และไกอุส สองพี่น้อง สกุลราสชุส พยายามดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อประชาชน ทั้งสองเคยรับราชการในตำแหน่งทรีบูน แต่ความพยายามของเขาล้มเหลว ตัวของทั้งคู่ถูกฆาตกรรม ไทบีเรียสในปี 133 ก่อน ค.. และไกอุส ในปี 121 ก่อน ค..

หลังจากนั้นได้มีความพยายามของมวลชนและชนชั้นขี่ม้าที่จะสู้กับพวกสภาเซเนท บรรดาบุคคลทั้งหลายต่างพยายามแสวงหาทางใช้อาชีพทหารในการไต่เต้าขึ้นสู่อำนาจทางการเมือง ผู้บัญชาการทหารมักจะสู้กันเพื่อช่วงชิงความเป็นใหญ่ทางการเมือง เช่น ซุลลากับมาริคุส กองทหารโรมันเวลานี้กลายเป็นหนทางสู่เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ กองทัพมีท่าทีว่าจะเป็นทหารอาชีพและทหารเริ่มอยู่ใต้ผู้บังคับบัญชามากกว่าอยู่ใต้รัฐ ในปี 83 ก่อน ค.. ซุลลาได้ยึดอำนาจและตั้งตนเป็นผู้เผด็จการ หลังจากได้ออกกฎหมายเพื่อเสริมอำนาจให้กับสภาเซเนทแล้วเขาก็ปลดเกษียณ ใช้ชีวิตส่วนตัวอย่างสบบายในคฤหาสน์นอกเมืองที่คัมปาเนีย

ในช่วงทศวรรษที่ 60 ก่อน ค.. ซิเซโร นักปรัชญาการเมืองและนักวาทศิลป์ พยายามรวมสภาเซเนทและชนชั้นขี่ม้าเข้าด้วยกันเพื่อต่อต้านการคุกคามที่รุนแรงขึ้นทั้งของพวกนายพลและมวลชน แต่ซิเซโรไม่ประสบผลสำเร็จด้วยความด้อยสมรรถภาพของสภาเซเนทเอง ผู้นำทางการทหารเด่น ๆ เช่น ปอมเปอี จูเลียส ซีซาร์ ต่างพยายามหาความสนับสนุนจากชนชั้นต่ำ สาธารณรัฐใกล้จะเสื่อมสลายลงไป แต่ก็มีระบอบใหม่ที่ช่วยให้โรมดำรงความยิ่งใหญ่ต่อไปได้ คือ ระบอบปรินซ์ซิเปต

 

ระบอบปรินช์ซิเปต

เมื่อซีซาร์ประสบการต่อต้านจากซิเซโร ได้หันไปเป็นพันธมิตรกับปอมเปอี และกราซุส เศรษฐีผู้ทะเยอทะยาน บุคคลทั้งสามรวมตัวกันเป็นกลุ่มเหนือกฎหมายที่เรียกว่า คณะสามผู้นำชุดแรก

ขณะที่ซีซาร์เดินทางไปรบที่กอล ปอมเปอีและสภาเซเนทร่วมมือกันต่อต้านซีซาร์และกล่าวหาว่าเขาเป็นศัตรูของประชาชน ซีซาร์ยกทัพกลับมาเอาชนะได้ ปอมเปอีหนีไปอียิปต์และถูกมาตกรรมที่นั่น ซีซาร์กลายเป็นผู้เผด็จการ ซึ่งในที่สุดบังคับให้สภาเซเนทมอบอำนาจผู้เผด็จการตลอดชีพให้เขา นอกจากนี้ ยังได้รับตำแหน่งผู้พิทักษ์ทรีบูน รวมทั้งตำแหน่งอื่น ๆ เช่น ตำแหน่ง ปอนนีเฟ็กซ์ แม็กซิมุส (อัครสังฆราช) ในปี 44 ก่อน ค.. เขาได้รับการบูชาเยี่ยงเทพเจ้า

ซีซาร์ใช้อำนาจเผด็จการปฏิรูปสาธารณรัฐทั้งรัฐบาลส่วนกลางและภูมิภาค เขาจัดตั้งอาณานิคมเป็นจำนวนมากเพื่อลดจำนวนคนว่างงาน การปฏิรูปของซีซาร์ทำให้เกิดผลดีต่อประชาชนจักรวรรดิโรมัน แต่เขาดำเนินการกว้างขวางและรวดเร็วเกินไปทำให้เกิดความหวั่นเกรงในสภาเซเนท จนทำให้เขาถูกฆาตกรรม โดยพวกสภาเซเนทหัวอนุรักษ์นิยม เมื่อ 44 ปี ก่อน ค..

เมื่อซีซาร์ถูกฆาตกรรมได้เกิดการแย่งชิงอำนาจต่อมาอีก 14 ปี ในท้ายที่สุด อ๊อคเตเวียน ผู้เป็นหลานและบุตรบุญธรรมของซีซาร์ได้ชัยชนะ อ๊อคเตเวียน หรือ ออกุสตุส เปลี่ยนโรมจากสาธารณรัฐเป็นจักรวรรดิได้สำเร็จ โดยได้รับการยอมรับจากสภาเซเนท

 

ยุคของออกุสตุส

ในปี 31 ก่อน ค.. กำลังทางทหารของอ๊อคเตเวียน ทำลายล้างกำลังของ มาร์ค แอนโทนีและคลีโอพัตราที่อัคตีอุม ถัดจากนั้นอีกปีหนึ่ง อ๊อคเตเวียนยาตราทัพเข้าสู่อเลกซานเดรียในฐานะประมุขของดินแดนในทะเลเมดิเตอเรเนียน

อ๊อคเตเวียนปฏิรูปโรมอย่างสมบูรณ์  เขายึดถือว่าความยิ่งใหญ่ที่แท้จริง ไม่ได้อยู่ที่การพิชิตแต่อยู่ที่การเสริมสร้าง อ๊อคเตเวียนครองตำแหน่งสำคัญ ๆ และคุมกองทัพเช่นเดียวกับซีซาร์ เช่น ตำแหน่งพรินเซบส์ (Princeps) หรือพลเมืองโรมันคนที่หนึ่ง ในปี 27 ก่อน ค.. เขาได้รับชื่อใหม่ว่า   ออกุสตุสซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับการเคารพนับถือระบบการปกครองที่ใช้ คือ ระบอบพรินซิเพท   ออกุสตุสใช้ชีวิตที่ง่าย ๆ ไม่ฟุ้งเฟ้อ ยกย่องเกียรติภูมิของเซเนท เขาปกครองโดยรู้สำนึกถึงความคิดเห็นของประชาชนและสภาเซเนท ตลอดจนเคารพจารีต ประเพณี แต่ออกุสตุสก็เป็นเจ้าเหนือหัวที่แท้จริงของโรม ออกุสตุสให้สันติภาพความมั่นคงปลอดภัย ความเจริญรุ่งเรือง และความยุติธรรมรวมทั้งนโยบาย อาชีพ เปิดโอกาสให้ผู้มีความสามารถความเป็นผู้นำของเขากระตุ้นให้เกิดการมองโลกในแง่ดี ความรักชาติ และการริเริ่มสร้างสรรค์ในด้านศิลปกรรมและวรรณกรรม ยุคนี้เป็นจุดสุดยอดของความเป็นเลิศในเชิงสร้างสรรค์ของโรมและได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทอง

 

ผู้นำจักรวรรดิหลังยุคออกุสตุส

ออกุสตุสสิ้นพระชนม์ในปี ค.. 14 เมื่อมีพระชนม์ได้ 76 พรรษา  หลังจากนั้นพรินซิเพท (คือรัฐบาลของพรินเซบส์) รวมศูนย์มากขึ้นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ระบบราชการขยายตัว และการปกครองส่วนภูมิภาคดำเนินไปด้วยดี อัตราภาษีต่ำและการจัดเก็บมีการประเมินอย่างดี กฎหมายมีมนุษยธรรมมากขึ้น พสกนิกรที่อยู่ห่างไกลได้รับความเจริญรุ่งเรืองและมีสันติสุขอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนด้วยพระปรีชาญาณของออกุสตุส

ในศตวรรษที่ 2 มีการปรับปรุงคุณภาพผู้นำจักรวรรดิ ผู้ปกครองโรมระหว่าง ค.. 96 – 180 ได้สมญาว่า จักรพรรดิที่ดี 5 องค์คือ เนอร์วา ทราจัน เฮเดรียน แอนโตนินุส และ มาร์คุส ออเรลิอุส ลักษณะเด่น คือ จักรพรรดิมีความคิด และรับผิดชอบต่อทุกข์ สุข ของจักรวรรดิ มีการปกครองที่เป็นธรรม รักษาความสงบสุขของพลเมือง ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวัตถุและการป้องกันพรมแดนจากการรุกราน จักรพรรดิแต่ละองค์จะไม่ใช้หลักการสืบสันตติวงศ์ทางสายเลือด แต่จะรับชายหนุ่มที่มีความสามารถดีเด่นมาเป็น โอรสบุญธรรมและผู้สืบราชบัลลังก์ (แม้ว่าในทางทฤษฎี สภาเซเนท จะเลือกพรินเซบส์) เมื่อ มาร์คุล ออเรลิอุส จงใจเลือกโอรสคือ คอมโมดุสผู้ไร้ความสามารถขึ้นเป็นจักรพรรดิ ทำให้ยุคที่ยิ่งใหญ่ของความเป็นจักรพรรดิที่ดีสิ้นสุดลง

จักรวรรดิโรมันภายใตต้ระบบพรินซิเพทนี้นับตั้งแต่การเถลิงอำนาจของออกุสตุสจนถึงมาร์คุส ออเรลิอุสนั้นได้ครอบครองดินแดนขนาดใหญ่ ภาระในการป้องกันพรมแดนอันยาวเหยียดตกอยู่กับกองทัพที่ได้รับการฝึกอย่างดี การคมนาคมภายในนั้นมีถนนหนทางที่ดีเยี่ยมซึ่งเชื่อมโรมเข้ากับแคว้นต่าง ๆ เส้นทางการค้าทางทะเลก็ได้รับความคุ้มครองจากกองทัพเรือโรมัน ระยะเวลา 2 ศตวรรษแห่งสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่สมัยออกุสตุสจนถึง มาร์คุส ออเรลิอุส ได้รับสมญาว่า PAX ROMANA หรือสันติภาพโรมัน

ภายใต้การพิทักษ์ของสันติภาพโรมัน ความรุ่งเรืองทางการค้า สถาบันโรมันและวัฒนธรรมคลาสสิคได้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวางทั่วจักรวรรดิโรมัน เมื่อแคว้นที่อยู่ห่างไกลมีความเป็นโรมันมากขึ้น ความหมายของ โรมและ โรมันก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไปจากประชาชนในดินแดนส่วนใหญ่ของอิตาลี ไปจนถึงแคว้นต่าง ๆ ที่ได้สัญชาติโรมันด้วย

โรมันได้พัฒนาเมืองเป็นหน่วยหลักในการปกครอง บางเมืองสามารถพัฒนาตนเองเป็นศูนย์กลางการค้าและหัตถกรรม แต่บางเมืองไม่อาจพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้ ส่วนใหญ่เมืองทางตะวันออกจะเจริญทางด้านการค้า และมีอุตสาหกรรมพื้นเมืองขนาดย่อมในตัวเมือง แต่เศรษฐกิจหลักโดยส่วนรวมของโรมัน คือ เกษตรกรรม ทาส จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเป็นแรงงาน อย่างไรก็ตามสังคมโรมันรวมถึงชาวนาที่ยากจนและยาจกที่อดอยากเสมอ

 

ยุคเงิน

ช่วงประมาณระหว่างการสิ้นพระชนม์ของออกุสตุส และมาร์คคุส ออเรลิอุส เป็นที่รู้จักกันว่ายุคเงิน แม้จะไม่รุ่งโรจน์เท่ายุคทองของออกุสตุส แต่ก็สร้างสรรค์ความสำเร็จทางด้านวรรณกรรม ภูมิปัญญา และศิลปกรรมในระดับเยี่ยม วัฒนธรรมและวิทยาการของยุคนี้ได้แพร่หลายออกสู่ภายนอกและภาคใต้ จำนวนผู้อ่านออกเขียนได้ก็เพิ่มมากขึ้นตลอดทั่วจักรวรรดิ

อเลกซานเดรียเองความสำคัญในฐานะนครแห่งการค้าและภูมิปัญญาตลอดช่วงสมัยพรินซิเพท ความสำเร็จในทางภูมิปัญญา มีทั้งเทววิทยาแบบคริสตศาสนา ความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ ดาราศาสตร์ จักรวาลวิทยา ภูมิศาสตร์ ชีววิทยา และการแพทย์

นอกจากนี้ปรัชญาสโตอิคก็รุ่งเรือง งานเขียนเรื่อง ความคิดคำนึงของจักรวรรดิมาร์คุส ออเรลิอุส เป็นความพยายามแสดงออกซึ่งปรัชญาสโตอิค ที่ทำให้แนวความคิดที่ดีที่สุดของยุคลึกซึ้งและมีเมตตาธรรมเป็นอันมาก

 

กฎหมายโรมัน

ในบรรดาความสำเร็จทั้งหลายในยุคเงิน พัฒนาการทางกฏหมายดูจะเด่นสุด กฎหมายสิบสองโต๊ะ ค่อย ๆ พัฒนาจนกลายเป็นประมวลกฎหมายที่เหมาะสำหรับจักรวรรดิกว้างใหญ่และฝูงชนที่มีความแตกต่างกับบรรดาบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย รวมทั้งจักรพรรดิได้มีส่วนในการพัฒนากฎหมายของตน และได้รับอิทธิพลจากแนวคิดปรัชญาของกรีก เกี่ยวกับ จุส นาตูราล หรือ กฎแห่งธรรมชาติเกณฑ์ดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมทางการเมืองและสังคม ทำให้กฎหมายของจักรวรรดิมีเหตุผลและให้ความยุติธรรม ถือว่ากฎหมายโรมันนั้นเป็นมรดกที่สำคัญยิ่ง คือ เป็นพื้นฐานของระบบกฎหมายทั้งหลายในยุโรป ปัจจุบันตลอดจนบรรดาอดีตอาณานิคมของยุโรปด้วย

 

ศาสนาโรมัน

โรมมีเทพเจ้าประจำชาติ แต่ด้วยขันติธรรมทางศาสนา ลัทธิบูชาต่าง ๆ จึงอยู่ได้ในโรมัน บุคคลหนึ่งสามารถนับถือได้หลายลัทธิ สมัยพรินซิเพทเกิดลัทธิบูชาจักรพรรดิ (Cult of Emperor) จักรพรรดิออกุสตุสได้รับการยกย่องบูชาโดยถือเป็นเทพ ลัทธินี้กลายเป็นพิธีกรรมประจำชาติอย่างเป็นทางการเพื่อปลุกใจให้รักชาติมากกว่าเป็นเรื่องทางศาสนา สำหรับชาวยิวและคริสต์แล้วไม่เกี่ยวกับพิธีกรรมดังกล่าวเพราะขัดกับหลักคำสอนทางศาสนา

สมัยออกุสตุส ชาวโรมันเริ่มบูชาเทพเจ้าจากทางตะวันออกในแนวของการไถ่บาปในโลกหน้าเช่น บูชาเทพไอซีสของอียิปต์ เทพมิทราของเปอร์เชีย ฯลฯ ซึ่งเรียกรวม ๆ ว่าเป็นลัทธิหัสยนิยม ลัทธิเหล่านี้ก่อให้เกิดลัทธิสากลนิยมและอัตตาธิปไตยที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ก็มีลัทธิเปลโต้ใหม่ (Neo – platoism) โพลตินุสเป็นนักปรัชญาของลัทธินี้ได้เผยแพร่การบูชาเทพองค์เดียวผู้ทรงอนันตภาพไม่มีขอบเขต ลัทธินี้ต่อมาได้สังเคราะห์แก่นสำคัญของลัทธินอกศาสนาอื่น ๆ เข้ามาด้วย

บรรยากาศของลัทธิศาสนาแบบต่าง ๆ นี้ มีผลให้ลัทธิเหตุผลนิยมและมนุษยนิยมของกรีกถูกกลืนเกือบหมดสิ้น สิ่งที่เกิดขึ้นจากลัทธิใหม่ ๆ เหล่านี้คือ โหราศาสตร์ เวทย์มนต์ การหลอกลวงและพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งครอบงำคนมากย่องกว่าในสังคมกรีก ท่ามกลางบรรยากาศเหล่านี้ คริสตศาสนาได้เกิดขึ้นและได้ชัยชนะเหนือจิตใจประชาชน

 

คริสตศาสนาในจักรวรรดิโรมัน

คริสตศาสนามีลักษณะที่นำเอาความเชื่อจากลัทธิที่มีมาก่อนมาจัดรวมกัน เช่น แนวความคิดเรื่องความตายและการฟื้นคืนชีพ อย่างไรก็ตามได้มีพื้นฐานต่างจากศาสนาอื่น ๆ อย่างน้อย 2 ประการ คือ ประการแรก คริสตศาสนามีพระเจ้าเพียงองค์เดียว ประการที่สอง พระเยซูนั้นถือเป็นพระผู้ไถ่บาป และเป็นบุคคลในคำพยากรณ์ของศาสนาฮิบรู ทรงเป็นบุคคลร่วมสมัยกับออกุสตุส แต่พระชนม์น้อยกว่า พระเยซูมีปาฏิหาริย์ต่าง ๆ และหลักคำสอนของพระองค์เน้นความรัก ความเห็นอกเห็นใจ และการอ่อนน้อมถ่อมตน การดำรงชีวิตอย่างมีสติ มีเมตตากรุณาต่อเพื่อนและศัตรู พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่คนจนและผู้ทอดทิ้ง

การที่พระเยซูทรงวิจารณ์ข้อบกพร่องทางศีลธรรมของบรรดาพระในศาสนายิวผสมกับการที่ทรงอ้างว่าตรัสในนามของพระเจ้า มีผลให้ทรงถูกตรึงกางเขนในฐานะผู้พยายามโค่นล้มระบบการปกครอง

นักบุญปอลอัครสาวกสามารถใส่ความคิดเรื่องภราดรภาพสากลเข้าในศาสนาคริสต์ได้สำเร็จ ทำให้ศาสนาคริสต์แพร่ไปได้มาก มิชชันนารีอื่น ๆ รวมทั้งนักบุญปีเตอร์และอัครสาวกองค์อื่น ๆ ต่างพากันเดินทางจาริกเผยแพร่ศาสนาและรวบรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรทางศาสนาขึ้น

เอกสารทางประวัติศาสตร์ของชาวคริสต์เริ่มมีมากในคริสตศตวรรษที่ 2 และ 3 องค์กรทางศาสนาก็เริ่มเด่นชัดกว่าเดิม มีการจัดลำดับสงฆ์เป็นหลายชั้นลดหลั่นกันลงมา อัครสังฆราชที่อยู่ประจำตามมหานครมีความสำคัญเป็นพิเศษ เช่น ที่โรม อเลกซานเดรีย แอนติออค และต่อมาที่กรุงคอนแสตนติโนเปิลด้วย เมื่อเวลาผ่านไป อัครสังฆราชที่โรมได้รับการยกย่องมากขึ้นจนสูงกว่าองค์อื่น ๆ

แนวความคิดของคริสตศาสนาได้รับการพัฒนาให้ลึกซึ้งตามแนวปรัชญาต่าง ๆ ของกรีกและยิว เช่น ของเปลโต้ สโตอิค และพระคัมภีร์เก่าของยิว แนวความคิดที่ได้รับการตีความเหล่านี้ ส่วนหนึ่งเป็นพื้นฐานให้กับนิกายออร์ธอดอกซ์ อย่างไรก็ตามได้ทำให้คริสตศาสนามีความหมาย และดึงดูดใจปัญญาชนมากขึ้น

การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในจักรวรรดิโรมันเป็นไปอย่างรวดเร็ว  คำสอนและทางรอดในคริสตศาสนาสอดคล้องกับอารมณ์ความรู้สึกของยุค   คริสตศาสนาได้รับเอามรดกของวัฒนธรรมโรมในเรื่ององค์กรทางการเมืองและกฎหมายมาใช้ รูปแบบองค์กรของศาสนาคริสต์ในยุคกลางเหมือนกับระบอบการปกครองของจักรวรรดิโรมันนั่นเอง

ในระยะแรก คริสตศาสนิกชนมักตกเป็นเป้าความเกลียดชัง ระแวงสงสัย เพราะการปฏิเสธศาสนาอื่น และไม่ยอมรับนับถือเทพเจ้าของรัฐ ในบางช่วงคริสตศาสนิกชนจึงโดนกวาดล้างขนานใหญ่ เป็นช่วง ๆ แต่ศาสนาคริสต์ก็เผยแพร่ไปไม่หยุดยั้ง แต่เมื่อถึงต้นคริสศตวรรษที่ 4 ศาสนาคริสต์ก็เติบโตเกินกว่าจะทำลายล้างได้แล้ว จักรพรรดิโรมันได้หันมาประนีประนอมกับคริสตศาสนา จักรพรรดิคอนแสตนตินเป็นจักรพรรดิโรมันองค์แรกที่นับถือคริสตศาสนา และเมื่อสิ้นคริสตศตวรรษที่ 4 ประชาชนส่วนใหญ่ก็หันมานับถือคริสต์

 

โดมิเนท

หลังจากสมัยจักรพรรดิที่ดี 5 พระองค์แล้ว  การปกครองที่ไร้ความสามารถของคอมโมดุส (.. 180 – 192) ทำให้จักรวรรดิเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย เป็นศตวรรษแห่งเผด็จการทหาร การฆาตกรรมความทรุดโทรมทางเศรษฐกิจและการบริหาร ความผุกร่อนทางวัฒนธรรมและกลียุค

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความไม่สงบในยุคนี้คือปัญหาเรื่องการสืบราชบัลลังก์ นอกจากนี้ยังเกิดโรคระบาด คือกาฬโรค ซึ่งเกิดขึ้นนานเป็นชั่วอายุคน ทำให้ผู้คนล้มตายมาก ทั้งยังประสบกับการรุกรานของอารยชนเยอรมันที่ข้ามพรมแดนแม่น้ำไรน์และดานูบ มาจนถึงอิตาลี ระบบราชการและกองทัพทำให้ต้องเก็บภาษีเพิ่ม ชาวเมืองและชาวชนบทต่างก็หลีกหนีภาษี แต่ละเมืองขอความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากจักรพรรดิทีละเมือง ซึ่งโดยปกติแล้ว นครโรมันหลายแห่งก็เลี้ยงตัวเองไม่ได้อยู่แล้ว เมื่อมาประสบภาวะการเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นประกอบกับภาวะเศรษฐกิจภายในจักรวรรดิที่หยุดนิ่ง ทำให้เศรษฐกิจเริ่มทรุดลง ชาวนาทิ้งไร่นา ชนชั้นกลางถูกขูดรีดภาษีอย่างหนักจึงพากันทิ้งเมือง คนที่ยังทำงานอยู่ก็ถูกขูดรีดภาษีหนักขึ้น จักรวรรดิเต็มไปด้วยขอทานและโจรผู้ร้าย สภาพการทางด้านตะวันตกหนักกว่าด้านตะวันออก เพราะศูนย์กลางอุตสาหกรรมอยู่ทางตะวันออก ช่วงระยะทศวรรษ ค.. 260 เป็นระยะที่เศรษฐกิจโรมันต่ำถึงขีดสุดและอนารยชนได้บุกข้ามชายแดนมาทางตะวันออก ขณะนั้นมีจักรพรรดิบางพระองค์พยายามป้องกันรัฐโรมันอย่างสุดความสามารถ ในจำนวนนั้น จักรพรรดิไดโอเคลเตียน (.. 284 – 305) และคอนแสตนติน (306 – 337) ได้ใช้อำนาจเอกาธิปไตยอย่างเด็ดขาด จักรพรรดิมิได้เป็นพรินเซปส์ แต่เป็น โดมินุสเอต เดอุส เจ้าผู้ครองนครและเทพเจ้าจึงเรียกยุคการปกครองแบบนี้ว่า โดมิเนท

ไดโอเคลเตียนได้แบ่งจักรวรรดิออกเป็น 2 ส่วน คือ ตะวันตกและตะวันออก มีจักรพรรดิสองพระองค์ องค์หนึ่งประทับอยู่ทางตะวันตก  อีกองค์หนึ่งทางด้านตะวันออก ทั้งสองพระองค์จะทรงร่วมมือกันเพื่อความอยู่รอดร่มเย็นและช่วยกันป้องกันประเทศ ทั้งสองพระองค์มีตำแหน่งเรียกว่า ออกุสตุส และมีผู้ช่วยเรียกว่า ซีซาร์ ซึ่งจะช่วยปกครองและสืบทอดตำแหน่งของออกุสตุสในที่สุด ทรงแยกอำนาจพลเรือนออกจากทหาร และปฏิรูปกองทัพให้จักรพรรดิคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สภาเซเนทกลายเป็นเครื่องประดับบารมี และสำหรับปัญหาเศรษฐกิจแก้โดยออกพระราชกฤษฏีกาให้ชาวไร่ชาวนา ช่างฝีมือและพ่อค้าทำงานนั้น ๆ โดยการสืบสกุล และออกมาตรฐานกำหนดราคาสินค้า

 

ความเสื่อมของจักรวรรดิตะวันตก

สาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิโรมันตะวันตกเสื่อมนั้น มีมาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 3 ในเรื่องเศรษฐกิจสังคม รวมทั้งความวุ่นวายทางการเมือง การฟื้นตัวของจักรวรรดิในสมัยจักรพรรดิไดโอเคลเตียน และคอนแสตนตินนั้น เป็นการฟื้นตัวบางส่วนและเป็นไปเพียงชั่วคราว รัฐโรมันทางตะวันตกมีปัญหามากกว่าทางด้านตะวันออก เศรษฐกิจโรมันเสื่อมสลาย ชนชั้นกลางก็หมดศรัทธาและกำลังใจที่จะร่วมมือกับรัฐ รัฐโรมันกลายเป็นเผด็จการ มีตำรวจคอยสอดส่องอิสรภาพของประชาชน คนในเมืองมักทิ้งเคหสถานและกิจการในเมืองไปอยู่ในที่ดินของตนนอกเมือง แล้วรวบรวมกองทหารส่วนตัวไว้ต่อต้านไม่ยอมจ่ายภาษีให้รัฐชนชั้นสูงที่พากันหลบหนีออกจากเมืองได้กลายเป็นชนชั้นกสิกรต่อมา ระบบ    เจ้าขุนมูลนายชนบทของยุคกลางได้เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้ การขาดแคลนกำลังคน ทำให้กองทัพและรัฐบาลต้องรับอนารยชนเผ่าเยอรมันเข้ามา

นับแต่กลางปี ค.. 370 จักรวรรดิโรมันเผชิญกับการรุกรานของอนารยชนเยอรมันครั้งใหญ่เพราะพวกฮั่นรุกไล่อนารยชนเผ่าเยอรมัน พวกวิซิกอธเข้ามาอาศัยในจักรวรรดิ ต่อมาได้ก่อความไม่สงบ และปล้นสะดมหลายครั้ง ที่สำคัญคือการปล้นกรุงโรม ค.. 410 ต่อมาเมื่อ ค.. 430 พวกแวนดัลยึดครองนครฮิบโปสุดท้ายใน ค.. 476 นายพลเผ่าเยอรมันผู้อยู่เบื้องหลังราชบัลลังก์ก็ได้ถอดจักรพรรดิองค์สุดท้ายออก และปกครองโรมเสียเอง เผ่าเยอรมันได้ตั้งอาณาจักรขึ้นทางตะวันตก อย่างไรก็ดีสันตะปาปาแห่งโรมเริ่มมีบทบาทที่อิสระมากขึ้น และมีความสำคัญมากขึ้นในสังคมยุโรป พระสันตะปาปาลีโอที่ 1 (.. 440 – 461) และผู้สืบต่อจากพระองค์ ประกาศว่าตำแหน่งสันตะปาปาทรงอำนาจสูงสุดทางศาสนา และศาสนาย่อมอยู่เหนือรัฐทางจิตใจ ซึ่งจะมีผลต่อมาในยุคกลาง

ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกสลายตัวนั้น จักรวรรดิโรมันตะวันออกยังดำรงอยู่ต่อไปจนถึง ค.. 1453

 

 
14 ความเห็น

Posted by บน มกราคม 2, 2008 นิ้ว History

 

ชนเผ่า อินคา

เปรู อินคา ผลงานและแนวทางชีวิตของพวกเขาถูกเก็บรักษาไว้ในเปรู ในยุคปัจจุบัน แม้ว่าโลกของอินคาจะถูกทำลายล้างไป จากผู้รุกรานจากสเปนนานถึง 500 ปีแล้วก็ตาม เพื่อตามรอยความลี้ลับ โดยสารรถไฟรางแคบเพื่อผ่านทะลุ แอนดิส


ไปยังสถานที่ได้ยินมาว่าเป็นที่แห่งหนึ่งในโลกที่สวยงาม และก็ยังยกระดับจิตวิญญาณของมนุษย์ และนี่คือ แชงกลีลา แห่งอเมริกาใต้ ซึ่งปกคลุมด้วยความลี้ลับ แต่ยังไม่เก่าแก่มาก แค่เกินครึ่งศตวรรษเพียงเล็กน้อย ฝ่าหมอกที่ซ่อนที่นี่ไว้ถึง 400 ปี จนถึง ปี 1911 ที่นี่จึงถูกค้นพบอีกครั้ง จนเป็นสถานที่โด่งดังในอเมริกาใต้

มาชูพิกชู อยู่บนชะง่อนเขา ของเทือกเขาแอนดิสแห่งนี้ 2,253 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล เป็นสถานที่ที่ต้องตะเกียกตะกายอย่างยากลำบาก ที่จะสร้างเมือง ที่น่าอัศจรรย์มาก มาชูพิกชู อยู่สูงเหมือนอยู่เหนือทุกอย่าง เปรียบเสมือนเมืองของเทพเจ้า คาดกันว่ามันถูกสร้างขึ้นในยุค 1460 ผู้เป็นเทวกษัตริย์อินคา

ทำไมเขาถึงสร้างเมืองในที่ห่างไกลแบบนี้ ?

ประตูใหญ่ของมาชูพิกชู น่าแปลกใจไหมทำไมมันเล็กจังเลย มันบ่งบอกถึงสังคมอินคาและมาชูพิกชูได้ดี เหตุผลง่าย ๆ ก็คือ แม้พวกอินคาจะก้าวหน้าในบางเรื่อง แต่ก็มีเรื่องที่ไม่ก้าวหน้าเช่นเดียวกัน คือ พวกเขาไม่มีล้อ ไม่มียานพาหนะขนาดใหญ่ ไม่มีเครื่องลากจูง ดังนั้นของใหญ่เหล่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องเข้ามาในเมือง แต่ว่าสิ่งของจะส่งมาถึงข้างนอกประตู แล้วขนส่งเข้าไปในเมืองด้วยมือ ประตูเมืองจึงไม่ใหญ่ไปกว่าประตูบ้างเท่าไหร่นัก มันก็น่าแปลกดีนะครับ

มาชูพิกชูเป็นสิ่งปลูกสร้าง ประมาณ 200 หลัง และมีพลเมืองเกือบ 1,000 คน เผ่าอินคาเป็นนักวิศวกรรมที่ก้าวหน้ามากครับ พวกเขาสร้างถนนและท่อระบายน้ำและ ระบบระบายน้ำได้อย่างยอดเยี่ยม ที่มาชูพิกชูนี้จะเห็นว่าน้ำถูกลำเลียงมาเมือง และน้ำจะถูกกักเก็บไว้อยู่ทางด้านหลังของเมือง และก็ไหลลงมาตามลำคลองเล็ก ๆ ไปตามน้ำตกเล็ก ๆ เป็นชั้น ๆ คุณภาพระดับชาวโรมันเลยทีเดียว นะเนียะ

เคยเป็นที่เชื่อกันว่า มาชูพิกชู เป็นถิ่นกำเนิดของหญิงพรหมจรรย์ ซึ่งเป็นผู้รับใช้เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ชาวอินคา และนั้นอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้นะครับ แต่ที่แน่ ๆ มาชูพิกชูเป็น เป็นสถานที่ศักดิสิทธิ์ ครับ


 

 

ด้านบนสุดของมาชูพิกชู ตรงนี้น่าจะเป็นวิหารมาก่อน เพราะว่ามีแท่นบูชาด้วย ท่าทางจะเป็นแท่นบูชาสำคัญซะด้วยนะครับ เพราะว่ามีลักษณะแปลกพิเศษมากเลย มันแกะสลักจากตัวภูเขาเลยครับ ไม่มีใครทราบว่าสิ่งมีมีความหมายอะไรสำหรับชาวอินคา บางคนคิดว่าคงจะเกี่ยวกับการ สักการะดวงอาทิตย์ บ้างก็ว่าเป็นนาฬิกาแดด

บนส่วนยอดที่ตั้งตระง่านนั่น หรือว่ามัน อาจจะใช้แทนที่นั่งของดวงอาทิตย์ เพราะในช่วงที่ดวงอาทิตย์โคจร ผ่านเส้นศูนย์สูตร ชาวอินคาคงจะกลัวว่าดวงอาทิตย์จะไม่กลับมา จึงต้องพยายามผูกดวงอาทิตย์กับโลกเอาไว้ นะครับ ส่วนบนคิดว่าคงจะเป็นตัวแทน แอคซีสมูนิค หรือว่าแกนกลางที่โลกจะโคจรไปรอบ ๆ เป็นศูนย์กลางของโลก และสำหรับชาวอินคาแล้ว สายรุ้งมีความสำคัญมาก พวกเขาเชื่อว่าสายรุ้ง คือบุตรชายของเทพดวงอาทิตย์ เป็นการปรากฏของเทพ และที่นี่จะเห็นรุ่งได้บ่อย ๆ โค้งเหนือมาชูพิกชู

มาชูพิกชูเป็นเหมือนดินแดนที่เสกขึ้นให้เหมือนสวรรค์ ชาวอินคาสามารถอยู่อาศัยมาเป็น หนึ่งเดียวกับธรรมชาติ และสักการะเทพของพวกเขาอีกด้วย คือเทพแห่งขุนเขา และเทพดวงอาทิตย์


อีกมุมของมาชูพิกชู ไม่รู้ว่าตัดต่อหรือเปล่า หรือว่าเป็นการเล่นกลจากธรรมชาติกันแน่ กับภูเขารูปหน้าคน

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มกราคม 2, 2008 นิ้ว History